วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

>>สมุนไพรลดความดัน


ชิงช้าชาลี


ชิงช้าชาลี

ชิงช้าชาลี


ชิงช้าชาลี เป็นไม้เถาเนื้อไม้แข็ง ถึงฤดูมีดอก ใบจะร่วงหมดมีรากอากาศงอกออกมาตามเถา เปลือกเถาสีน้ำตาลปนเทาหรือขาวนวล เถามีปุ่มเล็กน้อยกว่าใบเถาบอระเพ็ด ใบรูปหัวใจ ที่ฐานใบตอนที่ติดกับก้านใบมีปุ่มเล็ก ๆ 2 ปุ่ม ดอกออกที่ง่ามระหว่างใบและลำต้น ดอกตัวผู้มักอยู่เป็นพวง แต่ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ผลค่อนข้างกลมเป็นมันฉ่ำน้ำ เมล็ดเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก ในทางสมุนไพร ชิงช้าชาลี มีสรรพคุณ ใบผสมกับน้ำผึ้งใช้ใส่แผล ใบอ่อนบดผสมกับนมใช้แก้ไฟลามทุ่ง ดอก ปรุงเป็นยาขับลม แก้ท้องเฟ้อ เป็นยาแก้ปวดเมื่อยและธาตุพิการ สำหรับสูตรลดความดัน ท่านให้เอาต้น ใบ เถา 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม 3 แก้ว เคี่ยวนาน 10 - 15 นาที นำมาดื่มตอนเช้า หรือ ใช้ราก 90 - 120 กรัม ทุบให้แหลก ต้มน้ำดื่มตอนเช้า




ชื่ออื่น ๆ : บรเพ็ชร, ชิงช้าชาลี, ชิงชาลี (ไทยภาคกลาง), จุ่งจะริงตัวพ่อ (ภาคเหนือ), จุ่งจะลิงตัวแม่ (พายัพ), ตะซีคี


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora cordifolia (Willd.), Miess ex Hook. F.& Thoms.
วงศ์ : MENISPERMACEAE


ลักษณะทั่วไป :


ต้น : เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ตามร้านเถานั้นจะมีลักษณะกลม และเกลี้ยง


ใบ : ใบจะกลมโตและมีขนาดเดียวกับใบบอระเพ็ด และใบกระทุงหมาบ้า


ดอก : จะเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลือง สวยน่าดูมาก


ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ดอก ใช้เป็นยา


สรรพคุณ : ต้น จะมีรสขม ใช้รักษาพิษฝีดาษ เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุบรรเทาอาการกระหายน้ำ ทำให้เจริญอาหาร รักษาไข้เหนือ รักษาฝีกาฬอันบังเกิดเพื่อฝีดาษ ใบ รักษาโรคมะเร็ง และใช้ฆ่าพยาธิ ดอก ขับพยาธิในท้อง ในหู ในฟัน


อื่น ๆ : ใบสดใช้ตำพอกฝีทำให้เย็นรักษาอาการปวด ใช้ถอนพิษและบำรุงน้ำดี ใช้ดับพิษทั้งปวง

กฤษณา





กฤษณา

กฤษณา
กฤษณา เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบเป็นคลื่นม้วนลงเล็กน้อย ช่อดอกแบบช่อซี่ร่มออกที่ด้านข้างของกิ่งที่ยังอ่อน ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง กลีบรวมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ผลรูปไข่ปลายเป็นติ่งเล็กน้อย และมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองตามผิวผลหนาแน่น ฐานผลติดอยู่บนกลีบรวม แฉกของกลีบรวมหุ้มแนบผล มีสรรพคุณทางด้านสมุนไพรมากมาย เช่น บำรุงหัวใจ ตับและปอด แก้ลม แก้อ่อนเพลีย เป็นต้น ในทางลดความดัน ท่านให้เอาแก่นกฤษณา 4 – 5 ชิ้น มาต้มน้ำจำนวน 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที ดื่มตอนเช้าทุกวัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec.

ชื่อวงศ์ : THYMELAEACEAE


ชื่ออื่น ๆ : ไม้หอม (ภาคตะวันออก) , กายูกาฮู กายูการู (ปัตตานี-ภาคใต้)กฤษณา(ภาคตะวันออก) กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี) ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้) จีน ติ่มเฮียง(ไม้หอมที่จมน้ำ)



ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานกว้างประมาณ 6 ซม. ยา 12 ซม. ผิวเป็นมัน ดอกช่อ ออกเป็นช่อเล็กๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว แกมเขียว ผลเป็นผลแห้งรูปวงรี เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก กลีบเลี้ยงเจริญติดอยู่กับผล
สรรพคุณ : เนื้อไม้ ซึ่งเป็นสีดำ และมีกลิ่นหอม คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ ใช้ผสม ยาหอม แก้ลมวิงเวียนศีรษะ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่างๆ บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ

หมายเหตุ : เนื้อไม้กฤษณาที่ดีนั้น ต้องมีกลิ่นหอม และเป็นสีดำ วิธีที่จะใช้พิสูจน์ว่า คุณภาพของมัน ดีหรือไม่ดี นั้นกระทำได้โดยให้ตัดไม้เป็นท่อน แล้วให้โยนลงในน้ำ แล้วสังเกตว่าท่อนใดจมน้ำได้ทันที และมีลักษณะเป็นสีดำ แสดงว่าเป็นชนิดดี ที่นิยมใช้ทำยา ซึ่งเรียกว่า Gharki ท่อนที่ลอยน้ำซึ่งเรียกว่า Samaleh ชนิดนี้เราจะพบหกันทั่วไป และสำหรับท่อนที่ลอบปริ่มน้ำ เรียกว่า Samaleh-i-aala หรือ Neem Ghaeki จะเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือน้ำตาลอ่อนจะไม่นิยมใช้ในทางยา นอกจากนี้ยังมีวิธีที่จะพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งคือโดยการนำเอาเนื้อไม้ไปฝังดินไว้ เนื้อไม้ที่ดีก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นสีดำ และกลิ่นหอมมันก็จะหอมด้วย"ไม้หอม (จันทบุรี-ตราด) ." In Siam. plant Names 1948,p.41 "Aloes-wood, Eagle-wood,Calambac.", Aquilaria agallocha McFarland,1941,p. 57" eagle-wood, aloes-wood; กฤษณา (ต้น)."



ลักษณะของเนื้อไม้ : ลักษณะของเนื้อไม้กฤษณาจะมีทั้งเนื้อไม้ปกติ และเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา ซึ่งคนไทยรู้จักจำแนกความแตกต่างมาแต่โบราณแล้วดังกล่าวถึงในมหาชาติ คำหลวงสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ.2025 ว่ามีทั้งกฤษณาขาว (เสตครู) และกฤษณาดำ (ตระคัร) ซึ่งมีเนื้อไม้หอมเนื้อไม้กฤษณา ปกติจะมีสีขาวนวลเมื่อตัดใหม่ ๆ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนจะตรง เนื้อหยาบปานกลางเลื่อยผ่าได้ง่าย ขัดชักเงาไม่ได้ดี ไม่ค่อยทนทาน อยู่ในน้ำ จะทนทานพอประมาณ เมื่อแปรรูปเสร็จแล้ว ควรรีบกองผึ่งให้แห้งโดยเร็วในการผึ่งจะมีการปริแตกได้ง่าย และมักจะถูกเห็ดราย้อมสีเกาะ ทำให้ไม้เสียสี ส่วนเนื้อไม้หอมที่มีน้ำมันกฤษณา จะมีสีดำ หนัก และจมน้ำ คุณภาพของเนื้อไม้ ขึ้นอยู่กับการสะสมของน้ำมันกฤษณาภายในเซลล์ต่าง ๆ ของเนื้อไม้ องค์ประกอบทางด้านเคมี ของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณา ประกอบด้วยสารที่เป็นยางเหนียว [Resin] อยู่มากสารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม คือ Sesquiterpene alcohol มีหลายชนิด คือ Dihydroagarofuran, b .Agarofuran, a -Agarofuran,Agarospirol และ Agarol (มีชัย, 2532)

มะขาม




มะขาม

มะขาม
มะขาม เป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารพื้นบ้านทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะต้มยำ แกงต่าง ๆ จะขาดมะขามเสียไม่ได้ ในทางสมุนไพ มะขามแก้โรคต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับสูตรที่ใช้ลดความดันโลหิตสูง คือ ให้นำดอกมะขามสด ๆ มาต้มปรุงเป็นแกงส้มหรือแกงต่าง ๆ กินร้อน ๆ ได้ทุกวัน

มะขาม
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาลเนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมันและมีสีน้ำตาล


ชื่อสามัญ : Tamarind
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Tamarindus indica Linn.
วงศ์ :
CAESALPINIACEAE

ชื่ออื่น ๆ : ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากแกง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), มะขาม, มะขามไทย (ภาคกลาง), ตะลูบ (นครศรีธรรมราช), อำเปียล (สุรินทร์), มะขามกะดาน, มะขามขี้แมว
ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น และแข็งแรงมาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ
ใบ : เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่
ดอก : ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว
ผล : เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมว และอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม


สรรพคุณอื่น ๆ :
เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝักนำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณ รับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการ :ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
ส่วนที่นำมาใช
- ฝักอ่อน ฝักแก่ ดอก
- เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก)
- เปลือก (สด - แห้ง)
- ใบอ่อน - แก่
สารทีมีคุณประโยชน
- ยอดอ่อนของมะขาม มีวิตามินเอและวิตามินซีสูง และยังมี
- โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันกากใบ
- แคลเซียม และฟอสฟอรัส
- มะขามเปียกมีสารกรดอินทรีย์ เช่น กรดซกรด กรดทาทาริค กรดมาลิค
- มีสารพวกกัม (gum) และเพคติน (pectin)
สรรพคุณทางยา
- เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- แก้ท้องผูก แก้ท้องเดิน
- ถ่ายพยาธิลำไส้ (ใช้เนื้อในจากเมล็ด)
- แก้ไอขับเสมหะ
- น้ำมะขามลดอุณหภูมิในร่างกายและแก้ไข้ได้




ระย่อมน้อย





ระย่อมน้อย

ระย่อมน้อย
ระย่อมน้อย เป็นพืชพื้นบ้านภาคใต้และมีสรรพคุณทางยาหลายประการ สำหรับสูตรลดความดัน ให้นำรากแห้งของระย่อมน้อยมาบด หรือป่นเป็นผงละเอียด คลุกเคล้ากับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนหรือยาเม็ด ใช้กินได้วันละ 1 ครั้งต่อเนื่องกันได้ถึง 2 - 3 สัปดาห์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz
วงศ์ : Apocynaceae
ชื่ออื่น : กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กะย่อม (ภาคใต้) เข็มแดง (ภาคเหนือ) คลาน ตูมคลาน มะโอ่งที สะมออู (กะเหรียง-กาญจนบุรี) ระย่อม (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-70 ซม. มียางขาว ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือรอบๆ ข้อๆ ละ 3 ใบ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-20 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีขาวแกมเขียว เมื่อกลีบดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเป็นหลอดสีแดง ผลเป็นผลสด รูปวงรี
ส่วนที่ใช้ : รากสด รากแห้ง น้ำจากใบ ดอก เปลือก
สรรพคุณอื่น ๆ : รากสด - เป็นยารักษาหิด รากแห้ง - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยากล่อมประสาท ทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร ดอก - แก้โรคตาแดง น้ำจากใบ - ใช้รักษาโรคแก้ตามัว เปลือก - แก้ไข้พิษ กระพี้ - บำรุงโลหิต
วิธีและปริมาณที่ใช้ :



  • เป็นยารักษาหิด
    ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชพอแฉะๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย


  • ป็นยาลดความดันโลหิตสูง ใช้รากแห้ง 200 มิลลิกรัมต่อวัน รับประทาน 1-3 อาทิตย์ติดต่อกัน โดยป่นเป็นผงคลุกกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาเม็ด ข้อควรระวัง - การรับประทานต้องสังเกต และระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น หรือมีอาการผิดปกติ ให้หยุดยาทันที โดยเฉพาะระย่อม

  • รากระย่อม ปรุงเป็นยารับประทานทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร


ขึ้นฉ่าย



         ขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่าย เป็นผักและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในการปรุงอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว หรือเพิ่มความหอมของน้ำซุป หรือ นำไปผัดเพื่อดับคาวปลา ส่วนสรรพคุณในการลดความดัน คือ ให้นำเอาต้นสดมาตำหรือบุบให้ละเอียด แล้วผสมน้ำสะอาดเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำมากินครั้งละ ½ แก้ว อาจจะผสมน้ำผึ้งไปด้วย 2 ช้อนชา เพื่อให้กินง่าย หรืออาจกินต้นของขึ้นฉ่ายแบบสด ๆ วันละ ½ กำมือก็ได้ชื่ออื่น ๆ : ผักปืม,ผักข้าวปืน,ผักปืน (หนือ)
ชื่อสามัญ :
Celery , Smaltage
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Apium graveolens L.var, dulce Pers.
วงศ์ :
UMBELLIFERAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะมีอายุประมาณ 1-2 ปี พรรณไม้นี้จะมีอยู่ 2 พันธุ์ พันธุ์ หนึ่งเป็นคื่นช่ายจีน (Chinese celery ) มีขนาดลำต้นเล็กและสูงประมาณ 1 ฟุตเศษส่วนอีพันธุ์หนึ่งเป็นขึ้นฉ่าย (celery) จะมีลำต้นอวบใหญ่มาก มีขานดของลำต้นนี้นจะสูงประมาณ 1.5-2 ฟุตทุกส่วนของต้น นั้นจะมีกลิ่นหอม และสีของลำต้นนั้นค่อนข้างขาวเหลือง ทั้งต้นจะอ่อนนิ่ม
ใบ : จะเป็นใบประกอบออกตรงข้าม สีใบเป็นสีเหลืองอมเขียวใบย่อยเป็นรูปลีมหยัก ขอบใบจะหยัก ขึ้นฉ่ายจีน(Chinesecelery)ใบค่อนข้างเขียวแก่ ส่วนขึ้นฉ่าย(celery)ใบจะมีสีเหลืองอมเขียว
ดอก : จะออกเป็นช่อสีขาว เป็นช่อดอกแบบซี่ร่ม (compound Umbels)
ผล : ลักษณะของผลนั้นจะเล็กมาก เป็นสัน มีสีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้ : ต้น เมล็ดที่แก่ และผล
สรรพคุณ :

ทั้งต้นสด ใช้ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ขับระดู แต่งกลิ่นอาหาร ลดความดัน กระตุ้นความรู้สึก ทางเพศช่วยลดจำนวนsperm

เมล็ด ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวายรักษาอาการปวดตามข้อเนื่องจากไขข้ออักเสบหรือน้ำ หนักตัวมากเกินไปรักษาโรคหืด ใช้ขับประจำเดือนและขับลม

ผล จะมีน้ำมันหอมระเหยสีเหลือง 2-3 % ประกอบด้วย d-limonene 60%, d-elinens 10% ,Seanonicฟแรก anhydride 0.5% และ sedanolide 2.5%

บัวบก



บัวบก



บัวบก
บัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน แต่มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว ซึ่งรู้จักกันดีว่าน้ำใบบัวบกช่วยแก้ช้ำใน ส่วนสูตรลดความดัน ให้นำต้นสดของบัวบกมาล้างให้สะอาด บุบหรือตำให้แหลก แล้วคั้นเอาแต่น้ำ เจือน้ำตาลกรวดเล็กน้อยผสมกับน้ำสะอาด ดื่มหรือจิบได้วันละ 3 เวลา เช้า – กลางวัน – เย็น กินต่อเนื่องได้เป็นเวลา 1 สัปดาห์

และยังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีกมาก ในบัวบกประกอบด้วยสารสำคัญหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น ไตรเตอพีนอยด์ (อะซิเอติโคไซ) บราโมไซ บรามิโนไซ มาดิแคสโซไซ(เป็นไกลโคไซด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ) กรดมาดิแคสซิค ไทอะมิน(วิตามินบี 1) ไรโบฟลาวิน(วิตามินบี2) ไพริดอกซิน(วิตามินบี6) วิตามินเค แอสพาเรต กลูตาเมต ซีริน ทรีโอนีน อลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica Urban.
วงศ์ : UMBELLIFERAE

ลักษณะ
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้งแตกได

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีรากออกตามข้อชูใบตั้งตรงขึ้นมา
ใบ เป็นใบเดี่ยวมีก้านชูใบยาว ลักษณะเป็นรูปไตหรือรูปกลม มีรอยเว้าลึกที่ฐานขอบใบมีรอยหยักผิวในด้านบนเรียบ
ดอก ดอกเป็นดอกช่อคล้ายร่มออกจากข้อ มี 2 - 3 ข้อ ช่อละ 3 - 4 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอมแดงโดยเรียงสลับกับเกสรตัวผู้ ผล ขนาดเล็กมากสีดำ
สรรพคุณ
ใบสด - ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลากปัจจุบันมีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีมให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสดดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย



กาฝากมะม่วง




กาฝากมะม่วง

กาฝากมะม่วง
กาฝากมะม่วง : เป็นวัชพืชที่ฝังตัวตามกิ่งมะม่วง ดูดกินน้ำเลี้ยงจนอิ่มหมีพีมัน ใบและกิ่งของกาฝากจะเป็นพืชที่สะอาด ใบมันแข็ง เนื้อไม้เปราะหักง่าย ติดไฟได้ดี ใช้เป็นยาต้มดื่มลดความดัน โดยนำใบสดหรือกิ่งของกาฝากมะม่วงมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วต้มกับน้ำประมาณ 4 - 5 แก้ว ใช้ดื่มหรือจิบวันละ 2 เวลา เช้า - เย็น
ชื่อสามัญ : กาฝากมะม่วง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendropthoe pentandra
วงศ์ : Loranthaceae
ลักษณะทั่วไป : ลำต้น เป็นกาฝากบนต้นไม้อื่น ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนกัน หรือบางครั้งออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่หรือรูปรี โคนใบเรียวปลายใบมนหรือแหลม ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ดอก ออกเป็นช่อสั้น ตามซอกใบ ดอกเล็กสีเหลืองแกวเขียวหรือส้มแดง ผล รูปไข่ปลายตัดสีส้ม เมื่อสุกสีแดงอมชมพู
กาฝากมะม่วงเกาะอาศัยอยู่ไม้ชนิดอื่น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปวงรีแกม ขอบขนานหรือรูปใบหอกกว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-8 ซม. ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวแกมเหลือง ผลสด รูปไข่แกมขอบขนาน เมื่อสุกมีสีแดงแกมชมพู
แหล่งที่พบ พบตามไม้ยืนต้นทั่วไป ตลอดจนไม้ผลที่ปลูกในสวนหรือตามบ้านเรือนก็พบขึ้นได้
ประโยชน์ : กาฝากมะม่วง มีสรรพคุณแก้ปวดศีรษะ รักษาโรคความดันสูง เบาหวาน การทดสอบด้านพิษในสุนัข และหนูโดยให้ยาในปริมาณมากๆ ไม่พบว่ามีพิษ
ทั้งต้น ตากแห้ง ชงดื่มต่างน้ำลดความดันโลหิต การทดลองพบว่าน้ำสกัดใบในขนาดสูงเกือบเป็นพิษ มีผลลดความดันโลหิตในหนูขาว สารสกัดใบด้วยเมทานอล ให้ผลเช่นเดียวกันแต่ฤทธิ์อ่อนกว่า ควรมีการวิจัยต่อไป

1 ความคิดเห็น:



  1.        สวัสดีทุกคนฉันได้มาบอกกับโลกว่าฉันหายจากโรคเอดส์ได้อย่างไรฉันไม่เคยเชื่อว่ายังมีหมอสมุนไพรที่ดีอยู่จนกระทั่งฉันได้พบแพทย์ okos ฉันทนทุกข์ทรมานจากโรคเอดส์มา 15 ปี แต่ตอนนี้ฟรีและทุกการทดสอบทางการแพทย์ พิสูจน์ว่าฉันหายแล้วมีความสุขในวันนี้เพื่อนของฉันที่ได้รับความทุกข์จาก HERPES ยังได้รับยาและตอนนี้เธอได้รับการรักษานั่นคือเหตุผลที่ฉันมาบอกโลกว่าหมอจริง okos บ้านสมุนไพรคือ ทางออกสำหรับปัญหาของคุณ
    ทำไมต้องรอและทนทุกข์เมื่อมีคนอย่าง Dr okos
    ที่สามารถรักษาโรคใด ๆ
      เอชไอวี / เอดส์
    โรคมะเร็ง/
    ไวรัสตับอักเสบบี,
    โรคเริมโรคหอบหืด
    เบาหวาน 1 และ 2
    สะกด
    ความว่างเปล่า
    STROKE
    อย่าตายในที่เงียบสิ่งที่คุณต้องทำก็คือติดต่อเขา okosherbalhome@gmail.com นอกจากนี้คุณยังสามารถติดต่อผ่านหมายเลข whatsap +2348134156715
                         okosherbalhome@gmail.com

    ตอบลบ