>>สมุนไพรแก้ปวดไมเกรน

แค

แค เป็นต้นไม้ขนาดเล็กในสกุลโสน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: แคบ้าน(กลาง) แคขาว แคแดง(กทม. เชียงใหม่) แค(กลาง) แคดอกแดง แคดอกขาวและเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีรอยขรุขระหนา ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมีขนาดเล็กรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ ปลายใบมนกว้าง ดอกคล้ายดอกถั่ว ออกดอกแบบช่อตรงซอกใบ มีสีขาว ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาว 30-50 เซนตริเมตร สีเขียวอ่อน ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เมล็ดมีลักษณะเหมือนลิ่ม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  มีสรรพคุณทางสมุนไพร  เช่น เปลือกแคนำมาต้ม คั้นน้ำรับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้มูกเลือดดอกแคช่วยแก้ไข้ลดไข้ถอนพิษไข้  ฯลฯ 
ส่วนสรรพคุณแก้ปวดไมเกรน  ท่านให้เอาดอกแคสดทั้งดอก จำนวน 10 ดอก ไม่ต้องแก้ไส้ออก ล้างน้ำให้สะอาด นำมาลวกน้ำร้อนกินสด ๆ  จิ้มกับน้ำพริกต่าง ๆ  หรือนำมาต้มกับน้ำแกงจืดกินร้อน ๆ  วันละ 1 ครั้ง กินต่อเนื่องเป็นเวลา   1  สัปดาห์จะเห็นผล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora Linn.
วงศ์ : Papilionaceae
ชื่อพื้นเมือง : กลาง แคบ้าน, เชียงใหม่ แคแดง
ลักษณะ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน และมีใบโปร่ง        
ใบ เป็นใบประกอบ
ดอก เป็นกระจุก หรือช่อสั้น ๆ 2 - 3ดอก ดอกมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกสีขาว และพันธุ์ดอกสีแดง ดอกมีขนาดใหญ่มาก ลักษณะเหมือนดอกถั่ว ผลเป็นฝักยาว ค่อนข้างกลม
ส่วนที่ใช้ : ใช้ยอดอ่อน, เปลือก
สรรพคุณ : เปลือก  - ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว- แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ- ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล  ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)  ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้   ใบสด - รับประทานใบแคทำให้ระบาย- ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก
ใบบัวบก

บัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน แต่มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว  ซึ่งรู้จักกันดีว่าน้ำใบบัวบกช่วยแก้ช้ำใน  และยังมีสรรพคุณอื่น ๆ  อีกมาก  เช่น ใบบัวบกมีสรรพคุณทางยา ในการแก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน)  บำรุงสมอง แก้ความดันโลหิตสูง แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ และขับปัสสาวะ
          ส่วนสรรพคุณแก้ปวดไมเกรน  ท่านให้เอาต้นสดของบัวบก จำนวน 2 กำมือ มาคั้นกับน้ำสะอาดกินวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น  หรือกินต้นสด ๆ  เลยก็ได้ และสามารถผสมกับน้ำต้มสุกเจือน้ำตาลกรวดเล็กน้อย  ใช้ดื่มวัน ½  แก้ว 2 เวลา เช้า – เย็น
ชื่อวิทยาศาสตร์  Centella asiatica (L.) Urban.
ชื่อสามัญ :   Asiatic pennywort, Indian pennywort
วงศ์ :  Apiaceae (Umbelliferae)
ชื่ออื่น :  ผักหนอก (ภาคเหนือ)  ผักแว่น (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นไหลทอดเลื้อยไปตามดินที่ชื้นแฉะ ขึ้นง่าย มีรากฝอยออกตามข้อ ใบชูตั้งขึ้น มีไหลงอกออกจากต้นเดิม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไต ขนาดกว้างและยาว 2-5 ซม. ปลายใบกลม โคนใบเว้า ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกใบ มีดอกย่อย 2-3 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีม่วงอมแดงกลับกัน ผล เป็นผลแห้งแตกแบน เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้นสด

สรรพคุณ :
  • ใบ - มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
  • ทั้งต้นสด  เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า   รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด    ปวดศีรษะข้างเดียว   ขับปัสสาวะ    แก้เจ็บคอ   เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง   ลดความดัน แก้ช้ำใน
เมล็ด - แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ
กระเทียม

เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) เทียม (ใต้) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)  มีสรรพคุณทางสมุนไพร  เช่น  รักษาโรคบิดป้องกันมะเร็งระงับกลิ่นปากลดระดับไขมัน คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด ฯลฯ
ส่วนสรรพคุณแก้ปวดไมเกรน  ท่านให้เอาหัวกระเทียมสด จำนวน 20 กลีบ มาแกะเปลือกออก กินกระเทียมสด ๆ  วันละ 10 – 20 กลีบ  ต่อเนื่องกันทุกวัน หรือกินวันเว้นวันก็ได้
ชื่อวิทยาศาสตร์   Allium sativum L.
วงศ์ :    Alliaceae
ชื่อสามัญ :    Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ชื่ออื่น :    กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)
ลักษณะ : 
          เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า กระเทียมโทนแต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กระเทียมมีรากไม่ยาวนัก ใบมีลักษณะยาวแบน  ปลายใบแหลมแคบ โคนมีใบหุ้มซ้อนกัน ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาวติดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน
ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม.  ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม  ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
สรรพคุณ
ใช้เป็นอาหาร คือเป็นส่วนผสมเพื่อแต่งกลิ่นหายาใช้ผสมกับขิงอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วนำมาบดละลายกับน้ำอ้อยกิน จะแก้รัตตะปิตตะเสมหะ แก้เสมหะและลม แก้ฟกช้ำ แก้อืด กระจายโลหิต ผสมยารักษาโรคมะเร็งเพลิง มะเร็งคุด มะเร็งเปื่อยทั้งตัว ผสมกับยาแก้ไอ แก้จุกเสียด แก้ลมบ้าหมู แก้ลิ้นแข็ง ช่วยบำรุงอาหาร ผสมในยาแก้ท้องอืด แก้เจ็บท้อง ริดสีดวงทวาร ผสมยาทาแก้คลายเส้น แก้เมื่อย แก้กลาก แก้โรคผิวหนัง ผสมกับน้ำมันองคสูตรแก้ริดสีดวงทวาร คัน ฟกช้ำ บวม เมื่อใช้ผสมน้ำนมหรือน้ำกะทิสดคั้นใช้ขับพยาธิเส้นด้าย กินอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ก็จะขับออก นอกจากนี้ เนื่องจากกระเทียมมีรสร้อน สามารถปริมาณ โคเลสเตอรอลในเลือดได้ ทำให้ลดการอุคตันของเส้นเลือดเป็นต้น
กระเทียมกับสูตรปวดท้ายทอย
ระเทียม เป็นพืชครัวตัวหนึ่ง ที่นอกจากจะใช้รับประทานและปรุงเป็นอาหารหลายอย่างแล้ว กระเทียมยังมีสรรพคุณทางยา ใช้รักษาโรคได้อีกด้วย โดยเฉพาะใครที่มีอาการปวดท้ายทอยบ่อย ๆ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นอาการเพียงเล็กน้อยเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงที่เป็น จะรู้สึกตึงคล้ายจะเป็นลม ต้องนั่งหลับตา หรือนั่งพัก อาการจะทุเลาและหายเองได้ อาการดังกล่าว เป็นเฉพาะจุด ถ้าไม่รักษาหรือให้แพทย์ตรวจอาการอาจทำให้ผู้เป็นเกิดอาการโรควูบได้ ซึ่งสาเหตุที่กล่าวข้างต้นเกิดจากเส้นเลือดบริเวณท้ายทอยตีบตันนั่นเอง โดยในส่วนของสมุนไพร ที่มีสรรพคุณรักษาอาการปวดท้ายทอยมีเหมือนกัน คือ ให้เอากระเทียมจำนวน 2 กลีบ ปอกเอาเปลือกหุ้มกลีบออกแล้วหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นเอาไปใส่ถ้วยเติมน้ำส้มสายชูของ อสม. เล็กน้อย กินให้หมดทั้งน้ำและเนื้อวันละครั้ง จะก่อนอาหารหรือหลังอาหาร หรือกินตอนไหนก็ได้ โดยกิน 3 วันครั้ง ทำกินได้เรื่อย ๆ จะช่วยให้อาการปวดท้ายทอย หรือชาวบ้านชอบเรียกว่า ท้ายทอยเย็น ค่อย ๆ ทุเลาลง และหายได้ในที่สุด คนที่เป็นไม่รุนแรง หรือเพิ่งจะมีอาการใหม่ ๆ จะเห็นผลเร็ว
กระเทียม หรือ ALLIUM SATIVUM LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE เป็นพืชล้มลุก มีหัวใต้ดิน ต้นสูง 30 – 40 ซม. ใบรูปแถบยาว ดอกเป็นสีขาวแกมม่วง หรืออมชมพู หัวใต้ดินประกอบด้วยหัวย่อยจำนวนมาก เรียกว่ากลีบมีสรรพคุณเฉพาะ ใบรสร้อนฉุน ทำให้เสมหะแห้ง กระจายโลหิต แก้ลมปวดบวมในท้อง หัว แก้ไอ แกโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้แผลเน่าเปื่อย เนื้อร้าย บำรุงธาตุ ขับโลหิตระดู แก้โรคประสาท แก้ปวดหู หูอื้อ ระบายพิษไข้ แก้ริดสีดวงงอก ขับพยาธิในท้อง แก้โรคในปาก แก้อัมพาต แก้ลมเข้าข้อ แก้จุกแน่นเฟ้อ แก้ขัดปัสสาวะ บำรุงปอด แก้วัณโรคปอด แก้เสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ฟกบวมและแก้สะอึก


โรคไมเกรน
ไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรง และรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัว หรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โดยเฉพาะผู้หญิง มักเป็นมากกว่าผู้ชาย

อาการ

1. ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอยแต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกันหรือสลับข้างกันได้

2. ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากมักจะปวดตุ๊บ ๆ  นานครั้งหนึ่งเกิน 20 นาที ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อ ๆ สลับกับปวดตุ๊บ ๆ ในสมองก็ได้

3. อาการปวดศีรษะมักเป็นรุนแรง และส่วนมากจะคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้4. อาการนำจะเป็นอาการทางสายตาโดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้น ๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวก่อนปวด

สาเหตุ
1. สาเหตุที่อยู่ภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรม ความเครียด สาเหตุเหล่านี้ไม่สามารถจะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้
2. สาเหตุที่มาจากภายนอกร่างกาย สามารถที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดโรคขึ้น ได้แก่ การอดนอน หรือการทำงานหนักมากเกินไป ขาดการพักผ่อน หรือมีความเครียด การดื่มเหล้า กาแฟ ยาคุมกำเนิด (บางคนเป็น และเมื่อหยุดยาคุม ก็จะลดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้) อาหารบางชนิดจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมีในสมอง เพื่อกระตุ้นเส้นเลือดในสมองหดตัว และขยายตัว ทำให้มีอาการปวดหัวได้ อาหารเหล่านี้ ได้แก่ กล้วยหอม ช็อคโคแลต เนยแข็ง เบียร์ ไวน์

คำแนะนำ
1. การนอนไม่พอ การอดนอน
2. การดื่มสุรามากเกินไป จะทำให้ปวดไมเกรนมากขึ้น แต่ถ้าปวดศีรษะแบบตึงเครียด อาการปวดจะบรรเทาลงด้วยการดื่มเหล้า

3. การตรากตรำทำงานมากเกินไป ทำให้ต้องอดอาหารบางมื้อ   รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ อาการปวดศีรษะไมเกรนจะเป็นได้ง่ายขึ้น
4. การตื่นเต้นมาก ๆ โดยเฉพาะในเด็กที่ไปงานเลี้ยง
5. การเล่นกีฬาที่หักโหมจนเหนื่อยอ่อน แต่ถ้าเล่นกีฬาเบา ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย
6. การมองแสงที่มีความจ้ามาก ๆ เช่น แสงอาทิตย์ที่รุนแรง แสงที่กระพริบมาก ๆ เช่น ไฟนีออนที่เสีย หรือแสงระยิบระยับ ในดิสโก้เทค
7. เสียงดัง
8. กลิ่นน้ำหอมบางชนิด กลิ่นซิการ์ กลิ่นสารเคมีบางอย่าง กลิ่นท่อไอเสียรถยนต์
9. อาหารบางชนิด
10. อากาศร้อนจัด อากาศเย็นจัด11. ในระหว่างที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน ควรจะนอนพักผ่อนในห้องที่เงียบ รับประทานยาแก้ปวดธรรมดา ถ้ามียานอนหลับก็รับประทานยาให้ หลับ หรือกดเส้นเลือดที่กำลังเต้นอยู่ที่ขมับข้างที่ปวดศีรษะ ก็จะช่วยลดอาการปวดศีรษะได้ หรืออาจจะใช้น้ำแข็งประคบ 

ปวดศีรษะไมเกรน
สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน
สาเหตุที่แท้จริงของปวดศีรษะไมเกรนยังไม่มีใครทราบ


แต่เชื่อว่าสมองของผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนมีการไวในการตอบสนอง ต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกร่างกาย หรืออยู่ภายในร่างกายทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบ เมื่อหลอดเลือดขยายจึงปวดศีรษะ
อาการ
  • ปวดศีรษะมักจะปวดข้างเดียว อาจจะสลับซ้ายขวาได้ ลักษณะปวดเป็นแบบตุ๊บ ๆ น้อยรายที่จะปวดพร้อมกันสองข้าง ปวดมากจนทำงานไม่ได้
  • ปวดศีรษะมากจนทำงานไม่ได้ บางคนปวดจนน้ำตาไหล ส่วนใหญ่ปวด 4-72 ชั่วโมง
  • ปัจจัยที่ทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นคือการเคลื่อนศีรษะ
  • หลังปวดศีรษะอาจมีอาการคลื่นไส้ ถ้าเป็นมากจะอาเจียน
  • โดยมากจะมีสิ่งที่กระตุ้นทำให้ปวดศีรษะได้แก่ แสงจ้า เย็นหรือร้อนจัด เสียงดัง
  • โดยมากเป็นในอายุน้อย
อาการปวดศีรษะมักจะเริ่มช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศีรษะจะดีขึ้น บางครั้งผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนอาจจะมีอาการนำ aura เช่นเห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเราเรียก classic migrain อาการปวดมักปวดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร อาการปวดมักปวดข้างใดข้างหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียก common migraine  ไม่เกรนเป็นโรครักษาไม่หายขาดแต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถทำให้ควบคุมโรคได้
ไมเกรนกับคุณผู้หญิง
ผู้หญิงและผู้ชายเป็นไมเกรนได้ทั้งสองเพศแต่ผู้หญิงจะเป็นบ่อยกว่า บางคนปวดขณะมีประจำเดือนและหายไปเมื่อตั้งครรภ์ ผู้ป่วยบางคนเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและถี่ขึ้น บางคนไม่เคยเป็นไมเกรนแต่หลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดก็เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ทั้งนี้เนื่องจากยารักษาไมเกรนแต่ละชนิดจะมีส่วนผสมของเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนระดับต่างๆกัน อาจจะแก้ไขโดยการเปลี่ยนชนิดของยาคุมกำเนิดหรือใช้ยี่ห้ออื่น และเมื่อพบว่ายาคุมทำให้คุณปวดศีรษะเพิ่มขึ้นคุณควรไปปรึกษาแพทย์
สำหรับไมเกรนที่มีอาการนำเช่น ตาเห็นแสง ชาตามมุมปาก ตามนิ้วไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด สำหรับคนที่ไม่เคยมีอาการดังกล่าวหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดแล้วเกิดอาการนำดังกล่าวให้ปรึกษาแพทย์
ชนิดของไมเกรน
นอกจากไมเกรน 2 ชนิดดังกล่าว ยังมีไมเกรนอีกหลายชนิดดังนี้
  • Hemiplegic migraine มีอาการอ่อนแรงของแขนขาข้างหนึ่งเป็นระยะเวลาช่วงสั้นๆหรือบางคนอาจจะมีเวียนศีรษะ หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงจะมีอาการปวดศีรษะตามมา
  • ophthalmoplegic migraine ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะร่วมกับหนังตาตก เห็นภาพซ้อน
  • Basilar artery migraine ก่อนอาการปวดศีรษะผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้ เห็นภาพซ้อน
  • Status migrainosus ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะนานกว่า 72 ชั่วโมงและมีอาการมากกว่าปกติ
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเท่านั้นการเจาะเลือด หรือการตรวจ x-ray เป็นเพียงช่วยวินิจฉัยแยกโรคเท่านั้น แพทย์จะซักประวัติเพื่อวินิจฉัย
  • แพทย์จะซักเกี่ยวกับอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ ระยะเวลาที่ปวด
  • แพทย์จะซักอาการร่วมเช่น ไข้ อาการชัก อ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง
  • แพทย์จะซักประวัติโรคประจำตัง การใช้ยา
  • แพทย์จะตรวจร่างกายโดยละเอียด
อาการดังต่อไม่นี้ไม่ควรคิดถึงไม่เกรน
  • ผู้ป่วยปวดศีรษะหลังอายุ50 ปี
  • อาการปวดศีรษะปวดขึ้นทันที โดยมากเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก
  • อาการปวดศีรษะเป็นบ่อยขึ้น รุนแรงขึ้นนานขึ้น
  • อาการปวดศีรษะพบร่วมกับ ไข้ คอแข็ง ผื่น
  • มีอาการทางระบบประสาทอื่น เช่น ชัก อ่อนแรงของแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง
การวินิจฉัยไมเกรนอาศัยเพียงประวัติเท่านั้นดังนั้นมีเกณฑ์ดังนี้
  1. จะต้องมีอาการปวดศีรษะ (ตามข้อ2-4) อย่างน้อย 5 ครั้ง
  2. ปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมง
  3. ลักษณะปวดศีรษะต้องประกอบด้วยลักษณะอย่างน้อย 2 ประการ
  • ปวดข้างเดียว
  • ปวดตุ๊บๆๆ
  • ปวดมากจนทำงานประจำไม่ได้
  • ขึ้นบันไดหรือเคลื่อนไหวทำให้ปวดมากขึ้น
  1. ขณะปวดศีรษะจะต้องมีอาการข้างล่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • แสงจ้าหรือเสียงดังทำให้ปวดศีรษะ
5.ประวัติและการตรวจร่างกายปกติ
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะแบบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องตรวจ computer เพื่อการวินิจฉัย
การรักษาไมเกรน
การรักษาไมเกรนให้ได้ผลดีผู้ป่วยจะต้องทราบถึงสาเหตุที่กระตุ้นให้ปวดศีรษะ และมีส่วนร่วมในการรักษาโดยมีสมุดจดบันทึกปัจจัยชักนำให้ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะเป็นอย่างไรหลังจากหลีกเลี่ยงปัจจัยชักนำ การปรับยาของแพทย์ทำให้ปวดศีรษะดีขึ้นหรือไม่ ควรไปตามนัดทุกครั้งเพื่อประเมินผลการรักษา แบ่งการรักษาเป็นสองหัวข้อคือ ควบคุมปัจจัยชักนำ และการรักษาด้วยยา
  1. การควบคุมปัจจัยชักนำ
ปัจจัยชักนำมิใช่สาเหตุแต่เป็นเพียงปัจจัยเริ่มที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะมีปัจจัยชักนำไม่เหมือนกัน
  • อาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดง ผงชูรส อาหารที่มี tyramine เช่น เนย นม ชอคโกแลต กล้วยหอม ผงชูรส ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟและชา
  • การนอน ควรนอนให้เป็นเวลาและนอนให้พอ ตื่นให้เป็นเวลา
  • ฮอร์โมน ผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้นอาการจะปวดดีขึ้น การตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกปวดศีรษะจะเป็นมากระยะหลังตั้งครรภ์อาการปวดจะดีขึ้น การรับประทานยาคุมกำเนิดจะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้น
  • ความเครียด พยายามควบคุมความเครียด หาเวลานั่งพักหลับตาหยุดคิดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • ปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว
  1. การรักษาไมเกรนด้วยยา
การรักษาด้วยยาแบ่งออกเป็นการรักษาเมื่อมีอาการปวดศีรษะ [acute treatment] และการรักษาเพื่อป้องกัน [preventive treatment] จะใช้ในกรณีที่ปวดศีรษะรุนแรงและบ่อย
  1. acute treatment ยาแก้ปวดศีรษะมีด้วยกันหลายชนิดควรรับประทานทันทีที่เริ่มมีอาการปวดศีรษะไม่ควรรับประทานยาบ่อย หรือมากกว่าที่แพทย์สั่ง
  • ยาแก้ปวดและบรรเทาอาการอื่นยาบางชนิดอาจหาซื้อได้จากร้านขายยาเช่น paracetamol ,aspirin, ibuprofen ยา aspirin ไม่ควรใช้กับเด็ก ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานยากลุ่มเหล่านี้ก่อนพบแพทย์ แต่ถ้าไม่หายแพทย์อาจให้ยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดศีรษะดีขึ้น แต่ยาบางตัวอาจมีแนวโน้มที่จะเสพติด แพทย์บางท่านอาจให้ยา Nonsteroidal anti-inflammatory drugs เช่น mefenamic,diclofenac,ibuprofen แทนกลุ่มที่จะมีแนวโน้มทำให้เสพติด ผู้ป่วยไมเกรนนอกจากจะมีอาการปวดศีรษะแล้วยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ดังนั้นควรได้รับยาแก้คลื่นไส้หากมีอาการคลื่นไส้มาก
  • ยาที่หยุดอาการไมเกรน ยาในกลุ่มนี้มีสองชนิดได้แก่ Ergot alkaloids และ Triptans
  1. Migraine prevention
หากอาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นรุนแรงเป็นบ่อบแพทย์จะแนะนำยาป้องกันไมเกรน ซึ่งสามารถลดความถี่ ความรุนแรงและระยะเวลาที่ปวด และเมื่อสามารถควบคุมอาการได้แพทย์จะแนะนำให้ค่อยๆลดยาลงยาในกลุ่มนี้ได้แก่
  • Antidepressants ยาลดอาการซึมเศร้าสามารถป้องกันปวดศีรษะไมเกรนได้เช่น amitriptyline, nortriptyline, and doxepin
  • Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้เช่น propranolol, metoprolol, timolol, nadolol, or atenolol การจะใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิตและต่อการเต้นของหัวใจ
  • Calcium channel blockers เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและรักษาโรคหัวใจแต่สามารถนำมาใช้ป้องกันไมเกรนได้เช่น verapamil, diltiazem, or nifedipine.  การจะใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีผลต่อความดันโลหิตและต่อการเต้นของหัวใจ
  • Serotonin antagonists เช่น cyproheptadine. เป็นยาที่ทำให้อยากอาหารไม่ควรใช้ยาตัวนี้ในเด็ก
  • Anticonvulsants เป็นยากันชักใช้ได้ผลดีโดยเฉพาะ valproate ยาตัวนี้ให้ใช้กับเด็กอายุมากกว่า 10 ปี
การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
มีรายงานว่าการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาก็สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะ
 หลักการที่ทำให้การรักษาไมเกรนให้ได้ผลดี
  1. การจดบันทึกอากรของโรคไมเกรนดังนี้
  • วันและเวลาทีปวด
  • ระยะเวลาที่ปวด
  • อาการอื่นที่พบร่วม เช่น คลื่นไส้อาเจียน สิ่งกระตุ้นเช่น แสง เสียง กลิ่น
  • ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ คุณผู้หญิงอย่าลืมบันทึกเกี่ยวกับรอบเดือนด้วยครับ
  1. ให้คนใกล้ชิดคอยสังเกตถึงอาการก่อนปวดศีรษะเช่น หิวข้าว หิวน้ำ หาวนอน อ่อนเพลีย ซึมเศร้า แสง เสียง หนาวสั่น ปัสสาวะ
  2. ให้พกยาติดตัวไว้อย่างน้อย 1 ชุดเสมอ
  3. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดห้ามรับประทานยาเกินแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาทันที
  4. ถ้าลืมกินให้กินยาทันทีที่นึกขึ้นได้ ห้ามรับประทาน 2 เท่า
  5. หลังจากรับประทานยา ให้หาห้องเงียบๆมืดๆนอนพักจนอาการปวดดีขึ้น
  6. ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา ปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด