>>สมุนไพรรักษาหอบหืด

บวบเหลียม
ป็นไม้เถามีอายุสั้นประมาณ  ๑ ปี ลำต้นเป็นเหลี่ยมตามข้อมีมือเกาะเป็นเส้นยาวบางทีแยกเป็นหลายแขนง ใบเดี่ยว  เรียงสลับ  แผ่นใบรูป ๕ - ๗ เหลี่ยม ขอบใบมีรอยเว้าตื้นๆ โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ก้านใบเป็นเหลี่ยม  ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้อยู่บนต้นเดียวกัน  และมักจะออกตามง่ามใบแห่งเดียวกัน  อาจออกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อดอกเพศผู้กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็น    กลีบ กลีบดอก ๕ กลีบรูปไข่กลับ สีเหลือง  มีเกสรผู้  ๓ อัน อับเรณูแบบ ๑ ช่อง ๑ อัน และแบบ ๒ ช่อง ๒ อันดอกเพศเมียกลีบรองดอกและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่รูปขอบขนาน ท่อรังไข่รูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็น ๓  แฉก ภายในรังไข่ มี ๓ ช่อง ผลทรงกระบอก โคนเรียวเล็ก มีเหลี่ยมเป็นสันคมตามความยาวของผล  มีสรรพคุณ เช่น ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ขับเสมหะ ถอนพิษไข้  เป็นต้น
สูตรสำหรับรักษาอาการหอบหืด  ท่านให้เอาเมล็ดจากผลแก่จัด จำนวน 50 เมล็ด มาตำให้แหลก ผสมกับพริกไทย 7 เมล็ด แล้วนำมาปั้นเป็นลูกกลอน (ผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย หรือเหล้าโรงก็ได้) นำเอายาสมุนไพรลูกกลอนมากิน สัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้น กินต่อเนื่องได้ 1 เดือน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Luffa acutangula Roxb.
ชื่อวงศ์: Cucurbitaceae
ลักษณะ : เป็นไม้เถายาว โตเร็ว มีอายุประมาณ 1 ปี บวบมีลำต้นเป็นเหลี่ยมสัน ตามข้อมีมือที่ใช้เกาะเกี่ยวเป็นเส้นยาว ใบเป็นแบบใบเดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบเป็นรูปเหลี่ยมมีราว 5-7 เหลี่ยม ตามขอบใบมีรอยเว้าตื้นๆ ปลายใบค่อนข้างแหลม ส่วนโคนใบเว้าลึกเข้าด้านในจนดูคล้ายกับรูปหัวใจ ก้านใบยาวราว 4-9 ซม. และเป็นเหลี่ยมเหมือนกับลำต้น ดอกเป็นสีเหลือง ออกดอกตามง่ามใบ ทั้งแบบเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ โดยมีดอกทั้งตัวเมียและตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน สำหรับผลเป็นรูปทรงคล้ายกระบอกกลม ยาวราว ๆ 20 ซม. ผิวมีเหลี่ยมเป็นเส้นไปตามความยาวของผล นับได้ 10 เหลี่ยมเท่ากันทุกลูก โคนผลเรียวเล็กแล้วค่อย ๆ กว้างออก ก่อนที่จะค่อยๆ แคบลงไปอีกครั้งจนไปบรรจบกันที่ปลายผลอย่างสวยงาม  
สรรพคุณทางยา
ใบ รสจืดเย็น ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ระดูมาผิดปกติ ขับเสมหะ ถอนพิษไข้ ม้ามโต แก้ริดสีดวงทวาร ถอนพิษแมลงกัดต่อย แก้คัน
ลูก รสหวานเย็น บำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้ร้อนใน ระบายท้องขับปัสสาวะ ขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ
เนื้อในเมล็ด รสมัน ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน ขัยนิ่ว รับประทานมากทำให้อาเจียน รับประทานขณะท้องว่างครั้งละ 30-50 เม็ด ติดต่อกัน 2 วัน ขับพยาธิตัวกลม ปริมาณน้อยแก้บิด ขับเสมหะ
น้ำมันจากเมล็ด รสมัน ทาแก้โรคผิวหนัง
ราก รสจืดเย็น ต้มดื่มแก้บวมน้ำ ระบายท้อ

ปีบ
ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15 เมตร มีดอกรูปแตรสีขาวหอมอ่อน ๆ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับดอกตากแห้งนำมาม้วนเป็นบุหรี่สูบ รักษาริดสีดวงจมูก และมีสาร hispidulin มีฤทธิ์ในการขยายหลอดลมรักษาอาการหอบหืด
สูตรรักษาหอบหืด ท่านให้ดอกที่แห้งแล้วของต้นปีบ จำนวน 7 – 8 ดอก มามวนเป็นบุหรี่สูบ วันละ 1 มวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis   L.f.
ชื่อสามัญ : Cork Tree , Indian Cork
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
สรรพคุณ : เป็นพืชที่นำมาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด ในตำรายาไทย เช่น
ราก - บำรุงปอด รักษาวัณโรค อาการหอบหืด  ดอก - ใช้รักษาอาการหอบหืด ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) เพิ่มรสชาติ นำดอกปีบแห้ง ผสมยาสูบมามวนเป็นบุหรี่สำหรับสูบสูด เพื่อรักษาอาการหอบหืด   ใบ - ใช้มวนบุหรี่สูบแทนฝิ่น ขยายหลอดลม ใช้รักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน

ลำโพง
เป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้เป็นยาแก้หอบหืดในยาไทย สารสำคัญเป็นอัลคาลอยด์จำพวกโทรเปน ได้แก่ ไฮโอซีนและไฮโอไซยามีน นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาสารประกอบรองอื่น ๆ ในต้นลำโพงทำให้มีการค้นพบอัลคาลอยด์ชนิดใหม่ดังนั้น จึงสมควรทำการศึกษาสารประกอบเหล่านี้โดยละเอียด จากการศึกษา thin- layer chromatography พบว่า ในใบลำโพงมีสารจำพวกอัลคาลอยด์อยู่ 4-5 ชนิดด้วยกัน หลังจากที่แยกด้วย quick column สามารถแยกอัลคาลอยด์ได้ 2 ชนิด คือ ไฮโอซีน และ อัลคาลอยด์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีค่า Rf สูงกว่าไฮโอซีน แต่ยังไม่สามารถ identityได้เนื่องจากอนุพันธ์ picrate ของอัลคาลอยด์นี้ ตกผลึกเพียงเล็กน้อย ส่วนสารสกัดที่เหลือจากการสกัดอัลคาลอยด์พบว่ามีสารประกอบเทอร์ปีน/สเตอรอยด์ อยู่ 5- 6 ชนิด
สูตรรักษาหอบหืด ท่านให้เอาดอกและใบที่แห้งแล้วของต้นลำโพง ดอกแห้ง 2 ดอก หรือใบแห้ง 5 ใบ นำมาม้วนเป็นบุหรี่สูบ วันละ 1 มวน
ชื่อสามัญ : Datura alba Nees
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Datura metel Linn
ชื่อวงศ์ : Solanaceae
ชื่ออื่นๆ : ลำโพงขาว, กาสลัก, ลำโพงกาสลัก, ลำโพงแดง, ลำโพงดำ (ภาคกลาง), มะเขือข้าดอกดำ (ลำปาง), มะเขือบ้า (ภาคเหนือ, อีสาน), ละอังกะ (ส่วย-สุรินทร์), เลี้ยก (เขมร-สุรินทร์), มั่วโต๊ะโละ, เล่าเอี้ยงฮวย (จีน)
ลักษณะ :
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเปราะ แต่เปลือกเหนียว
ใบ : เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ปลายใบแหลม โคนใบไม่เท่ากัน ขอบเป็นคลื่น ใบคล้ายใบมะเขีอพวง มีสีเขียวอ่อน
ดอก : ออกเดี่ยว อยู่ตามง่ามใบหรือส่วนยอดของต้น ลักษณะดอกเป็นรูปแตรหรือลำโพง มีขนาดใหญ่ มีสีม่วง สีขาว หรือขาวอมเหลืองอมม่วง ถ้าดอกออกสีม่วงจะมีกลีบซ้อนๆ กัน 2-3 ชั้น
ผล : เป็นลูกกลมขนาดผลมะเขือเปราะ แต่มีหนาม เมื่อแก่จะแตกออกจะเห็นเมล็ดภายในสีน้ำตาลแบนอยู่เป็นจำนวนมาก


หญ้าคา
เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลหญ้า มีลำต้นสูงประมาณ ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลมเรียวยาวขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นขนกระจุก ขอบใบมีลักษณะคมกริบ ออกดอกเป็นช่อก้านยาวสีขาว คล้ายหางกระรอก มีสรรพคุณในการรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคไต โรคมะเร็งคอ แก้ลมพิษ ผื่นคัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์จากหญ้าคาในการมุงหลังคา
สูตรรักษาหอบหืด  ท่านให้รากสดของหญ้าคา จำนวน 2 กำมือ มาผสมกับชะเอมจีน ต้มกับน้ำสะอาดประมาณ 5 – 6 แก้ว แล้วเคี่ยวให้น้ำงวดจนเหลือเพียง 2 แก้วเท่านั้น ใช้ดื่มหรือจิบวันละ ½ ถ้วย เวลา เช้า – เย็น
ชื่ออื่นๆ : เก้อฮี  ลาลาง  แฝกคา  คา
ชะเอมจีน
ชื่อสามัญ : Cogon grass, Alang-alang, Lalang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Imperata cylindrica (Linn.) Beauv.
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ลักษณะ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวล้มลุก มีอายุอยู่ข้ามฤดูและนานหลายปี สูงประมาณ 50 - 100 ซม. มีเหง้าใต้ดินรูปร่างยาวสีขาวและแข็งมาก ปลายแหลม  ใบเดี่ยวแทงออกจากเหง้ารูปแถบยาว ปลายแหลม โคนสอบเรียว กว้าง 1 - 2 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. ขอบใบคม ผิวใบมีขนสั้นแข็งเกาะติดจำนวนมาก  ลำต้นแข็งยาวใบแข็งและสาก  ดอกออกเป็นช่อ โดยก้านช่อดอกออกจากเหง้าสูงเสมอปลายใบ ดอกย่อยเกาะเวียนรอบปลายช่อ ดอกย่อยเล็กมีขนสีขาวฟูรอบๆ ดอก ก้านดอกสั้น  ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตกรูปรี  เมล็ดสีเหลือง

โทงเทง
           เป็นพืชตระกูลเดียวกับพริกและมะเขือเทศ ลำต้นอวบน้ำ เปลือกเกลี้ยงสีเขียว โคนสีม่วงแดงและสีค่อย ๆ  จางลงเป็นสีเขียวใสเป็นเหลี่ยม ยอดเป็นสีเขียวอ่อน ลำต้นสูง ประมาณ 25 – 50 เซนติเมตร สูงเต็มที่ 120 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขา  มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ  ฝีในคอ ไอ หืด ฯลฯ
          สูตรสำหรับรักษาหอบหืด  ท่านให้เอาต้นแห้งของโหงเหงที่แห้งแล้ว จำนวน ½ กิโลกรัม มาต้มกับน้ำสะอาด  โดยอาจจะเติมน้ำตาลกรวดลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ดื่มง่าย ใช้ดื่มหรือจิบได้วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร เช้า – กลางวัน – เย็น ควรดื่มต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นให้หยุดดื่มประมาณ 3 – 5 วัน แล้วค่อยดื่มยาสมุนไพรนี้ต่อเนื่องไปอีก 10 วัน หรือ 2 สัปดาห์ก็ได้ จากนั้นก็พัก 3 – 5 วัน เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ  จนอาการหอบหืดดีขึ้น
ชื่อวิทยาศาสตร: Physalis angulata L.
วงศ์ : OLANACEAE
ชื่อท้องถิ่น : หญ้าถงเถง(อ่างทอง) ปุงปิง(นครศรีธรรมราช) บ่าตอมต๊อก(เชียงใหม่)
ลักษณะ : พืชล้มลุกจำพวกหญ้า สูง 30 – 60 เซนติเมตร ใบเดี่ยวออกสลับกัน ใบสีเขียวรูปหอกปลายแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ผลมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้มเหมือนโคมไฟ ผลกลมใสสีเขียวอมเหลือง
สรรพคุณ : ทั้งต้น ตำละลายน้ำส้มสายชู ชุบสำลีอมแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ฝีในคอได้ดีมาก ต้มดื่มแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ลูกอัณฑะร้อน พอกแก้ฟกบวมอักเสบ แก้ฝี ผิวหนังเป็นตุ่มพอง ผล แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ฝีในคอ แก้อักเสบในคอ

เสนียด
         เป็นไม้พุ่มใหญ่ แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ใบรูปแหลมหัวแหลมท้าย ใบจัดตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ  ดอกช่อติดกันเป็นแท่ง ออกตรงข้าม มีใบประดับรองรับดอก เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ  กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นหลอดมีสีขาว แยกเป็น 2 ปาก ปากบน ปลายแยก เป็น 2 แฉก ปากล่างปลายแยกเป็น 3 แฉก และมีสีขาวประม่วง บานครั้งละ 1 – 3 ดอก
          สูตรรักษาหอบหืด ท่านให้เอาดอก ใบ และราก (ถ้าเป็นใบแห้ง ท่านให้ใช้ จำนวน 5 ใบ ดอกและราก ไม่กำหนดปริมาณ) มาบดให้ละเอียดใช้ดองกับเหล้าโรง ในอัตราส่วนสมุนไพร 1 ส่วนต่อเหล้าโรง 10 ส่วน แล้วใช้จิบครั้งละไม่เกิน 1 ช้อนชาเท่านั้น
ชื่อพ้อง : กระเหนียด,  กุลาขาว,  บัวลาขาว, บัวฮาขาว, โบราขาว, โมรา, เสนียดโมรา, หูรา, หูหา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adhatoda  vasica (L) Nees
วงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะ :  เสนียด เป็นไม้พุ่ม   ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก  ดอก เป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกบนสีขาว กลีบดอกล่างสีขาวประม่วง  ผล เป็นผลแห้งแตก
สรรพคุณ : ใบ ห้ามเลือด แก้หอบ หืด  แก้เจ็บปวดข้อ  แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ราก ยาบำรุงปอด  รักษาวัณโรค  แก้ฝีภายใน  บำรุงโลหิต  แก้หอบ หืด  แก้ไอ