>>สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน

หว้า
เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิด จากอินเดียจนถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบมีคุณค่าทางโภชนาการคือ ในผลหว้าจะประกอบด้วย น้ำตาล วิตามินซี มีแคลเซียม(สูง) และเหล็ก ส่วนในเมล็ดหว้าจะมีสารอัลคาลอยด์ น้ำมันหอมระเหย ฟอสฟอรัส และแคลเซียม มีสรรพคุณและวิธีใช้ คือ เปลือกและใบหว้า ใช้ทำยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย ลิ้นและคอมีเม็ด  ส่วนสรรพคุณรักษาเบาหวาน  ท่านให้เอาเมล็ดสดของหว้า จำนวน 30 – 40 เมล็ดมาตำให้แตก แล้วนำไปต้มกับน้ำสะอาดประมาณ 2 ถ้วยแก้ว  อีก 5 นาทีต่อมาก็ยกลง ใช้ดื่มหรือจิบได้วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium cumini  (L.) Skeels
วงศ์  MYRTACEAE
ชื่อสามัญ Jambolan Plum , Java Plum
ชื่ออื่น ห้าขี้แพะ (เชียงราย)
ไม้ต้น สูง 10-25 เมตร 
ใบ  ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 5-9 เซนติเมตร ยาว 9-15 เซนติเมตร ปลายแหลม   โคนมน 
ดอก  สีขาวออกเป็นช่อตามง่ามใบ 
ผล  รูป รี กว้างประมาณ 0.8 เซนติเมตร ยาว 1.5-3 เซนติเมตร  
ประโยชน์และสรรพคุณ เปลือกต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย เนื้อไม้ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม ผล ผลดิบแก้ท้องเสีย ผลสุกรับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม เมล็ด ลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษ จากเมล็ดแสลงใจ เปลือกและใบ แก้บิด ชะล้างบาดแผล รักษาแผลในปาก ผล รับประทานได้แก้ท้องร่วง แก้บิด ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน

ตำลึง

ตำลึงเป็นพืชผักสวนครัว  อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก และฟัน และยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน วิตามินซีและอื่น ๆ นอกจากนี้ จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร อีกด้วย สำหรับตำรายาแผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด
สำหรับสรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน  ท่านให้เถาตำลึงแบบแก่มาต้มกับน้ำ  ใช้ดื่มหรือจิบได้วันละ 3 เวลา เช้า – กลางวัน – เย็น
ชื่อสามัญ : Ivy Gourd
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis Voigt
ชื่ออื่น : ภาคเหนือเรียกว่า ผักแคบ กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกว่า แค ภาคอีสานเรียกว่า ตำนิน ภาคกลางเรียกว่า ผักสี่บาท
สรรพคุณทางยา : ใบ มีรสเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้แสบคัน แก้เจ็ยตา ตาแดง แก้ตัวร้อน นำมาทาถอนพิษของตำแย แก้โรคผิวหนัง ลดน้ำตาลในเลือด ตำลึงมีเส้นใยที่จับไนไตรท ได้ดี ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด นอกจากนี้ใบตำลึงยังมีมากในตำลึงช่วยบำรุงสายตา ดอก มีรสเย็น แก้คัน เมล็ด ตำผสมกับน้ำมะพร้าวทาแก้หิด
คุณค่าอาหาร : ตำลึง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยแคลเซียม 126 มิลลิกรัม เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 699.88ไมโครกรัม เส้นใย 2.2 กรัม
มะแว้งเครือ  มะแว้งต้น

มะแว้งเครือเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยหรือทอดต้น ลำต้นและใบ สีเขียวเข้ม ผิวเรียบ เป็นมันวาว สะท้อนแสง มีหนามสีขาวใสแหลมคม กระจายทั่วทั้งต้นและก้านใบ ขอบใบเว้า ผลกลม เมื่อยังดิบสีเขียวอ่อน มีลายผลสีเขียวตามยาวไปหาขั้วผล เมื่อสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกมะแว้งเครือเกิดเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วงสด อับเรณูเป็นสีเหลืองสด ตัดกันดูสวยงาม ผลมะแว้งเครือสดมีรสขมเช่นเดียวกับมะแว้งต้น  มะแว้งเครือมีสรรพคุณในตำรายาไทย คือ ใช้ผลสดแก้ไอ ขับเสมหะ ใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกหรือตำพอแหลก คั้นเอาน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขม ผลสดมะแว้งเครือใช้ขับปัสสาวะ แก้ไข้ และเป็นยาขมเจริญอาหารด้วย
ชื่อท้องถิ่น : มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ), แขว้งเคีย(ตาก)ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum Linn.
วงศ์ : SOLANACEAE
ลักษณะ : เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่ม ส่วนต่าง ๆ ตามลำต้นจะมีหนาม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ขอบใบหยักเว้า 2-5 หยัก ผิวใบเรียบเป็นมัน และมีหนามเล็ก ๆ ตามเส้นใบ ดอกออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ออกเป็นช่อ 2-8 ดอก ผล เป็นผลสด รูปกลม ผลอ่อนสีเขียวมีลายตามยาว ผลแก่สีแดง
ส่วนที่นำมาเป็นยา : ผลแก่สด
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ : มีวิตามิน เอ และมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ชื่อ Solanine, Solanidine และสารที่ทำให้ผลมะแว้งเครือมีรสขมคือ Tomatid 5-en-3-B-ol
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้ : แก้อาการไอ และมีเสมหะ และ เจริญอาหาร : นำผลแก่ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำผสมเกลือเล็กน้อย จิบบ่อย ๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวกลืนทั้งเนื้อและน้ำจนกว่าอาการจะดีขึ้น
มะแว้งต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียว ท้องใบสีเทา ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ ดอกย่อยมีกลีบรอง กลีบดอกโคนกลีบติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum sanitwongsei Craib
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ลักษณะ : มะแว้งต้น เป็นไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบ สีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม
สรรพคุณของ มะแว้งต้น : ผล ใช้แก้ไอขับบเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ พบสเตอรอยด์ปริมาณค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ
          ส่วนสรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน ท่านให้เอาผลสุกเต็มที่ ของมะแว้งเครือและมะแว้งต้น จำนวน 2 กำมือ มาล้างให้สะอาด แล้วใช้กินสด ๆ  โดยจิ้มกับน้ำพริกต่าง ๆ  กินได้วันละ 1 ครั้ง ทุก ๆ  วัน

เตยหอม
เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมัน ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้ สรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน ท่านให้เอารากของเตยหอม 2 กำมือ มาต้มกับน้ำสะอาด ดื่มได้วันละ 2 เวลา เช้า – เย็น
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amaryllifolius  Roxb.
ชื่อสามัญ  Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.
วงศ์   Pandanaceae
ชื่ออื่น :   ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ต้นและราก, ใบสด
สรรพคุณ :  ใช้บำรุงหัวใจ และสามารถทำให้ชุ่มคอและอาการกระหายน้ำ โดยให้นำสมุนไพรใบเตยสดมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อยคั้นเอาแต่น้ำดื่ม และถ้าหากต้องการรสชาติที่ดีขึ้นสามารถผสมน้ำตาลเล็กน้อยได้   ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และสามารถรักษาโรคเบาหวาน โดยให้นำรากสมุนไพรเตยหอมไปต้มน้ำดื่ม  รักษาโรคผิวหนัง โดยให้นำใบสมุนไพรเตยหอมมาตำพอกบริเวณที่เป็น  นำไปผสมอาหาร และสามารถใช้ดับกลิ่นได้อย่างดี
กระทืบยอด
เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ประเภทเดียวกับต้นหญ้า ลักษณะของลำต้นตรงเป็นปล้องข้อ มีสีแดงเรื่อ ลำต้นสูงประมาณ 10-15 ซม. มีขนาดโตเท่ากับก้านไม้ขีดไฟ มีสรรพคุณทางสมุนไพรหลายอย่าง เช่น เป็นยาแก้ดับพิษร้อนภายใน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ แก้กาฬ ฯลฯ  ส่วนสรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน  ท่านให้เอาต้นกระทืบยอด 1 กำมือ มาต้มกับน้ำสะอาดดื่มได้วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น ทุกวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Biophytum sensitivum (L.) DC.
วงศ์ : OXALIDACEAE
ชื่ออื่น ๆ : กะทืบยอด กะทืบยอด (ภาคกลาง); จิยอบต้นตาล (ภาคเหนือ); นกเขาเง้า (โคราช); ทืบยอด (สุราษฎร์); เนี้นซัวเช้า (จีน)
ลักษณะทั่วไป ต้น: เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ประเภทเดียวกับต้นหญ้า ลักษณะของลำต้นตรงเป็นปล้องข้อ มีสีแดงเรื่อ ลำต้นสูงประมาณ 10-15 ซม. มีขนาดโตเท่ากับก้านไม้ขีดไฟ ใบ: ลักษณะของใบเป็นใบที่มีขนาดเล็กฝอยเหมือนกับใบกระถิน ก้านใบจะแผ่แบน รวมกันอยู่บนยอด เหมือนกับร่มที่กาง ดอก: ดอกออกเป็นจุก บริเวณบนยอดลำต้น ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก มีสีเหลืองสด
สรรพคุณ:  ลำต้น เป็นยาแก้ดับพิษร้อนภายใน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้ แก้กาฬ แก้สะอึก ใช้ถอนพิษเบื่อเมา วิธีใช้โดย การนำมาต้มเอาน้ำดื่ม  ราก แก้โรคหนองใน แก้นิ่ว
มะระ
มะระ เป็นไม้เลื้อยเขตร้อนในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) นิยมปลูกเพื่อใช้ผลและยอดเป็นอาหาร มีรสขม ที่รู้จักกันดีมี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นกและมะระจีน   แม้จะมีรสขม แต่มะระก็มีรสหวานชุ่มอีกด้วย ถือว่าเป็นเสน่ห์ของพืชอันเป็นอาหารชนิดนี้ มะระมีวิตามินบีและซีมาก โดยเฉพาะมีสรรพคุณต้านทานโรคภัย เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้รับประทานเป็นประจำ  มะระมีสรรพคุณคล้ายแค หรือพืชรสขมทั่วไป เช่น ขี้เหล็ก สะเดาเป็นต้น นั่นคือแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยเจริญอาหาร
          สำหรับสรรพคุณในการรักษาโรคเบาหวาน ท่านให้เอาผลมะระทั้งผล มาหั่น ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปตากแห้ง  จากนั้นนำมาชงกับน้ำต้มสุกหรือผสมใบชาเล็กน้อยใช้จิบหรือดื่มได้ทุกวันเช่นเดียวกับชา
ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Momordica charantia Linn.
ชื่อสามัญ  : Bitter cucumber-chinese
วงศ์  : CUCURBITACEAE
ชื่ออื่น ๆ   : ผักเหย, ผักไห, มะร้อยร,ู มะห่อย, มะไห,่ สุพะซ,ู สุพะเด
ลักษณะ :
ไม้เถา มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ กว้างยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกลึก 5-7 แฉก ใบและลำต้นมีขนสากอยู่ทั่วไป ดอกสีเหลือง ออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน รูปแตร ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร มะระมี 2 ชนิด คือ มะระไทยหรือมะระขี้นก และมะระจีน ซึ่งต่างกันที่ลักษณะและขนาดของผล ผลมะระขี้นก มีขนาดเล็กกว่า ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลรูปกระสวย ผิวขรุขระ สีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง ส่วนมะระจีนมีขนาดใหญ่กว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ยาว 12-30 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก สีเขียวอ่อน ผิวขรุขระ ผลมะระทั้งสองชนิดมีรสขม
มะระที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
1. มะระพันธุ์ขี้นก มะระชนิดนี้เป็นพันธุ์ป่า มีผลที่เล็ก รูปร่างป้อมเรียว ผวไม่เรียบ ขรุขระเป็นหนามแหลม รสขมจัด เนื้อบาง ขึ้นตามชายรั้วบ้านหรือชายป่า
2.มะระพันธุ์จีน มะระชนิดนี้มีผลโต รูปร่างยาว ยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ผิวสีเขียวอ่อน รสขมน้อย เนื้อหนาเป็นที่นิยมรับประทานกันมาก และนิยมปลูกกันมาก
3.มะระพันธุ์สองพี่น้อง มะระพันธุ์นี้เป็นมะระที่เก็บเมล็ดจากมะระจีน จึงกลายพันธุ์มา มะระสองพี่น้องมีผลโตน่ารับประทาน
4.มะระพันธุ์ย่างกุ้ง มะระพันธุ์นี้มีผลเล็ก แต่มีรูปร่างยาว ผิวขรุขระเป็นหนามแหลมปลายผลและหัวผลมีรสดีขมน้อย
สรรพคุณทางยา
สรรพคุณและวิธีใช้ ใบ ต้มดื่ม แก้ไข้หวัด บำรุงน้ำดี ดับพิษฝี แก้ปากเปื่อย แก้ตับม้ามพิการ แก้อักเสบ ฟกช้ำบวม ใช้ทาภายนอก แก้ผิวแห้ง ลดอาการระคายเคือง อักเสบ ผลสุก มีซาโปนิน ไม่ควรกิน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ โดยรวมมะระ มีสรรพคุณเป็นยารสเย็น บรรเทาอาการร้อนใน แก้อักเสบ เจ็บคอ สำหรับคนที่เป็นงูสวัด คั้นน้ำมะระผสมน้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เป็นอาการจะดีขึ้น ถ้ากินป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่องจะสามารถลดอาการเบาหวานได้ เมล็ดรสขมจัด ขับพยาธิตัวกลม รากก็ขมให้ต้มดื่ม แก้ไข้ รักษาโรคริดสีดวงทวาร
วิธีการลดความขมให้นำไปแช่น้ำเกลือประมาณ 15-30 นาที หรือนำไปเคล้ากับเกลือ ทิ้งไว้ 10-20 นาที แล้วบีบน้ำให้แห้ง ลวกกับน้ำเดือด หรือต้มในน้ำเดือดพล่าน ปิดฝาให้สนิท ให้เดือดสัก 10 นาทีค่อยเปิดฝาหม้อ แต่ทั้งนี้การต้มนานๆ จะทำให้วิตามินซีลดลงไปด้วย การศึกษาพบว่าน้ำคั้นจากผลมะระมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ถามว่าน้ำมะระต้มเป็นยาระบายหรือไม คำตอบจาก ดร.ฉัตรชัย อธิบายว่ามะระมีฤทธิ์เป็นยาระบาย แต่ถึงขั้นช่วยควบคุมน้ำหนักได้ ยังไม่มีงานวิจัยยืนยัน งานวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบันสรุปตรงกันเพียงว่ามะระทั้ง 2 ชนิดเป็นสมุนไพรช่วยเจริญอาหาร
ผู้ที่แพ้รสขมของมะระ ให้นำมาหั่นเป็นชิ้นแช่น้ำเกลือ จะช่วยกำจัดรสขมได้

หมากดิบน้ำค้าง
ต้น หมากดิบน้ำค้าง ชื่อนี้ อาจจะ ไม่คุ้นหู หลายๆ คนแต่ก็ไม่รู้ ว่าเจ้าต้นไม้ ชนิดนี้ มีประโยชน์ อย่างไร และเอาไปทำ อะไรได้บ้าง ต้น หมากดิบน้ำค้าง เป็น พืช สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ของไทย อีกชนิดหนึ่ง ที่ถูก ใช้ประโยชน์ ด้านการรักษาโรค กันมายาวนาน ใครเลยจะคิดว่า แค่ต้นไม่ ที่หลาย ๆ คนมองข้าม จะซ่อนประโยชน์ และ สรรพคุณทางยา ไว้ อย่างมากมาย มหาศาล ขนาดนี้  สำหรับสูตรรักษาโรคเบาหวาน  ท่านให้เอาต้นสดของหมากดิบน้ำค้าง 2 มือ มาต้มกับน้ำสะอาดใช้ดื่มหรือจิบได้ 2 ครั้งเวลาเช้า – เย็นทุกวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hedyotis biflora (L.) Lamk. วงศ์ RUBIACEAE
ชื่ออื่น : ผักขวง สะเดาดิน
รายละเอียด :  ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ตัวใบรูปไข่ ดอกออกเป็นช่อ ตามซอกใบ หรือตามยอด ช่อละ 3-40 ดอก ดอกเล็ก รูปกรวย ปลายแยก 4 แฉก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมม่วง เกสรผู้ติดตรงกลางกรวยดอกหรือต่ำลงไปเล็กน้อย ผลกลมรี ขนาดเล็ก มีสันบางๆ สองข้าง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก พบตามเรือกสวน ริมสนามหญ้าที่ร่มชุ่มชื้น และที่ว่างทั่วไป

คำเตือน
     สมุนไพรที่ใช้บรรเทาโรคเบาหวานนี้  เมื่อดื่มเป็นประจำแล้วต้องควบคุมอาหารไปด้วย  อีกทั้งต้องคอยสังเกตว่า หากน้ำตาลลดลงเร็วฉับพลันจนเกิดอาการหน้ามืดใจสั่นเป็นลม  ให้รีบกินน้ำหวานหรือผลไม้หวาน ๆ  ทันที  แล้วสให้หยุดการดื่มหรือกินยาที่ใช้เป็นประขณะนั้น  แต่หากใช้ยาสมุนไพรเหล่านี้เป็นประจำจนน้ำตาลในเลือดลดลงเป็นปกติแล้ว  ก็หยุดการใช้สมุนไพรเหล่านี้ได้