>>สมุนไพรช่วยระบายและเป็นยาถ่าย

มะขาม
มะขาม เป็นไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชีย และประเทศแถบละตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก  มะขามเป็นใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนตั้งแต่รากยันใบ  เป็นพืชผักสวนครัวด้วย  เป็นสมุนไพรด้วย  ในทางสมุนไพรมีสรรพคุณเช่น  เป็นยาระบาย  แก้คลื่นไส้อาเจียน ฯลฯ  ใช้เป็นยาระบายและเป็นยาขับถ่าย  ท่านให้เอาเมล็ดในเปลือก  จำนวน 30 เมล็ด โดยท่านให้คั่วเมล็ดมะขามเสียก่อน แล้วกะเทาะเอาเมล็ดข้างในสีขาวออกมาใช้มาต้มกับน้ำสะอาด ผสมเกลือเล็กน้อย  ดื่มหรือจิบได้เหมือนน้ำชา วันละ 2 ครั้ง (ไม่ระบุเวลา)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Tamarindus indica  L.
ชื่อสามัญ  Tamarind, Indian date
วงศ์  Leguminosae - Caesalpinioideae
ชื่ออื่น :  ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ(ชาวบน-นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) หมากแกง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
ส่วนที่ใช้ ราก เปลือก ทั้งต้น แก่น ใบ เนื้อในฝัก ฝักดิบ เมล็ด เปลือกเมล็ด ดอกสด
สรรพคุณ :
  • รากแก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด
  • เปลือกต้น - แก้ไข้ ตัวร้อน
  • แก่น - กล่อมเสมหะ และโลหิต ขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่
  • ใบสด (มีกรดเล็กน้อย) - เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้บิด รักษาหวัด ขับเสมหะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว  ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ ต้มผสมกับสมุนไพรอื่นๆ อาบหลังคลอดช่วยให้สะอาดขึ้น
  • เนื้อหุ้มเมล็ด - แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ เป็นยาสวนล้างท้อง
  • ฝักดิบ - ฟอกเลือด และลดความอ้วน เป็นยาระบายและลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้
  • เมล็ดในสีขาว - เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลมในลำไส้ พยาธิเส้นด้าย
  • เปลือกเมล็ด - แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก ที่คอ ที่ลิ้น และตามร่างกาย รักษาแผลสด ถอนพิษและรักษาแผลที่ถูกไฟลวก รักษาแผลเบาหวาน
  • นื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) - รับประทานจิ้มเกลือ แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ดอกสด - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
 1.  เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวกลม ตัวเส้นด้าย ได้ผลดี    ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกออก แล้วเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานเนื้อทั้งหมด ครั้งละ 20-30 เมล็ด
  2.  เป็นยาระบาย ยาถ่าย  ใช้เนื้อที่หุ้มเมล็ด (มะขามเปียก) แกะเมล็ดแล้วขนาด 2 หัวแม่มือ (15-30 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ  เอามะขามเปียกละลายน้ำอุ่นกับเกลือ ฉีดสวนแก้ท้องผูก

  1. แก้ท้องร่วง
     -เมล็ดคั่วให้เกรียม กะเทาะเปลือกรับประทาน
    -เปลือกต้น ทั้งสดและแห้ง ประมาณ 1-2 กำมือ (15-30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใส หรือ น้ำ รับประทาน
  1. รักษาแผลเมล็ดกะเทาะเปลือก ต้ม นำมาล้างแผลและสมานแผลได้
  2. แก้ไอและขับเสมหะใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทานพอควร
  3. เป็นยาลดความดันสูงใช้ดอกสด ไม่จำกัดจำนวน ใช้แกงส้มหรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน
สารเคมี :
  • ใบ  มี  Alcohols, phenolic esters and ethers. Sambubiose, Carboxylic acid, Oxalic acid
  • ดอก  มี  a - Oxoglutaric acid, Glyoxalic acid , Oxaloacetic acid
  • ผล มี  Alcohols, Aldehydes; Citric acid Ketones, Vitamin B1, Essential Oil, Enzyme.
  • เมล็ด  มี  Phosphatidylcholine, Proteins Glutelin, Albumin, Prolamine, Lectin
 ฟักทอง
ฟักทอง  เป็นพืชชนิดหนึ่ง มักจัดเป็นพวกผัก เนื่องจากนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหาร แต่ก็ยังนำไปทำของหวานเป็นอาหารว่างได้ด้วย ปกติฟักทองเมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองอมส้ม เป็นพืชมีเถา ปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว  สรรพคุณทางสมุนไพรของฟักทอง เนื้อใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน เยื่อภายในผลใช้พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวด  ส่วนเมล็ดที่เคี้ยวกันมัน ๆ นั้นใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะและบำรุงร่างกาย รากนั้น ในตำราโบราณใช้ต้มดื่มน้ำเป็นยาแก้ไอ  ฯลฯ
        สรรพคุณที่ใช้ช่วยระบายและเป็นยาถ่าย ในตำราท่านให้เอาเนื้อในเมล็ดของฟักทองทั้งสดและแก่ จำนวน 100 กรัม (100 – 120 เมล็ดสด) มาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำสุกประมาณ 3 แก้ว เจือด้วยน้ำผึ้งเล็กน้อยดื่มหรือจิบเป็นน้ำชา วันละ 3 ครั้ง เช้า – กลางวัน – เย็น  โดยควรจะดื่มในช่วงเวลาที่ท้องว่างก่อนกินอาหาร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbita moschata Decne.

วงศ์ : Cucurbitaceae

ชื่อท้องถิ่น : น้ำเต้า (ภาคใต้) มะพร้าว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว (เลย) หมักอื้อ (เลย - ปราจีนบุรี)
ลักษณะ :  ฟักทองเป็นไม้เถาเลื้อยไปตามดิน มีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง นอกจากเนื้อของผลฟักทองจะใช้เป็นอาหารแล้ว เมล็ดฟักทองก็ใช้เป็นอาหารว่างได้ด้วย
สรรพคุณทางยา เมล็ด รสมัน ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะบำรุงร่างกาย  ราก รสเย็น บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่นน้ำมันจากเมล็ด รสหวานมัน บำรุงประสาทเยื่อกลางผล รสหวานเย็น พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ    ขั้ว รสเย็น ฝนกับน้ำมะนาว ผสมยอยฝ้าย (เศษผ้าฝ้าย) เผาไฟ รับประมานแก้พิษกิ้งกือกัด
ตานหม่อน
ไม้เถาหรือไม้พุ่มเลื้อย ขึ้นแทรกในซอกหินตามหน้าผาชัน ลำต้น แตกกิ่งแขนงระเกะระกะ ห้อยระย้าลงมาตามหน้าผา เป็น พืช สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ของไทย อีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกใช้ประโยชน์ ด้านการรักษาโรค กันมายาวนาน ใครเลยจะคิดว่า แค่ต้นไม่ ที่คนไม่ค่อยใส่ใจ ต้นนี้ จะซ่อน ประโยชน์ และ สรรพคุณทางยา ไว้ อย่างมากมาย มหาศาล ขนาดนี้ 
สำหรับสูตรช่วยระบายและเป็นยาถ่าย ท่านให้เอาต้นสดหรือรากมาต้มกับน้ำสะอาด 3 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือน้ำเพียง 1 ถ้วยแก้วเท่านั้น ใช้ดื่มหรือจิบขณะที่ท้องยังว่าง วันละ 1 ครั้งเท่านั้น สามารถดื่มน้ำสมุนไพรนี้ได้ก่อนกินยาถ่าย
ชื่อวิทยาศาสตร์  : Vernonia elliptica DC. วงศ์ COMPOSITAE
ชื่ออื่น : ซ้าหมักหลอด ตานค้อน ตานหม่น
ลักษณะ : ไม้พุ่มเลื้อย ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับ ขอบใบเรียบ หรือหยักห่างๆ ดอกเป็นช่อออกที่ยอดหรือซอกใบ กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลแห้งไม่แตก  ยอดหรือซอกใบ กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลแห้งไม่แตก
สรรพคุณ  : แก้พิษตานซาง ขับพยาธิไส้เดือน บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น บำรุงธาตุแก้พิษตานซาง ขับพยาธิไส้เดือน บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น บำรุงธาตุ

มะระไทย
เป็นไม้เลื้อยเขตร้อนในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) นิยมปลูกเพื่อใช้ผลและยอดเป็นอาหาร มีรสขม ที่รู้จักกันดี  มะระไทย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มะระขี้นก   มีสรรพคุณในตำรายาไทย ช่วยเจริญอาหาร  รักษาเบาหวาน แก้ไข้ เป็นต้น  สูตรช่วยระบายและเป็นยาถ่าย ท่านให้เอาใบสดของมะระไทยหรือมะระขี้นกมาหั่นให้ละเอียดแล้วชงกับน้ำร้อนเจือด้วยเกลือเล็กน้อย  เพื่อกำจัดรสขม  ใช้ดื่มหรือจิบเช่นเดียวกับน้ำชา  วันละ 2 เวลา เช้า – เย็น 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อสามัญ : Bitter cucumber, Balsam pear
ลักษณะ : เป็นพืชผักประเภทเถาเลื้อย อวบน้ำ มีอายุเพียงปีเดียวหรือฤดูเดียว เถาอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เถาแก่สีเทา ขนาดของเถาที่ปลายยอด 5-8 มิลลิเมตร มีมือเกาะยาว ที่เถาและใบมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม ดอกเดี่ยวสีเหลืองมี 5 กลีบ ขนาดดอก 1 เซนติเมตร ผลกลมรูปรี ผิวขรุขระเป็นสันนูน มะระจีนมีผลขนาดใหญ่และยาว 20-30 เซนติเมตร มีรสขมน้อย ส่วนมะระพื้นเมืองหรือมะระขี้นกมีผลเล็ก ยาวเพียง 3-5 เซนติเมตร และมีรสขมมาก ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมื่อแก่เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีแดง รสหวาน
สรรพคุณ : สำหรับสรรพคุณในตำรายาไทย ช่วยเจริญอาหาร ใช้เนื้อของผลที่ยังไม่สุกเป็นอาหาร ผักจิ้ม ต้ม แกง รักษาเบาหวาน ใช้ผลโตเต็มที่หั่นเนื้อตากแห้ง ชงน้ำรับประทานต่างน้ำชา แก้ไข้ ผลต้มรับประทานแต่น้ำเป็นยาแก้ไข้ หรือดื่มน้ำคั้นจากผลแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย น้ำคั้นจากผลใช้อม บำรุงระดู ดื่มน้ำคั้นจากผล ใช้ผลตำพอกฝี แก้บวม แก้ปวด
หมาก
หมากเป็นพืชที่คู่กับคนไทยมานานแล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่นิยมกินหมากกัน แต่หมากยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปหมากสดและหมากแห้ง หมากแห้งใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกเส้นใย และทำยารักษา โรค และผลหมากสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ใช้สมานแผล แก้ท้องเสีย รักษาโรคเหงือกและฟัน เป็นต้น         
สำหรับสูตรช่วยระบายและขับถ่าย  ท่านให้เอาเนื้อในของเมล็ดหมาก จำนวน 15 เมล็ด (90 – 100 กรัม) มาต้มกับน้ำประมาณ 3 แก้ว เคี่ยวให้น้ำงวดจนเหลือ 1 แก้ว แล้วใช้ดื่มหรือจิบขณะที่ท้องยังว่าง ถ้าจะใช้เป็นยาถ่ายให้เด็ก ควรใช้เนื้อในของเมล็ดหมากเพียง 5 เมล็ดเท่านั้น
ชื่อสามัญ : Betel Nuts
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catechu Linn
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่ออื่นๆ : หมาก กานพลู Clove, Clove tree
ลักษณะ : เป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 นิ้ว ระยะแรกจะมีการเจริญโตด้านกว้างและด้านสูง หลังจากหยุดเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง รูปทรงกระบอกตรง  ใบ  เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอด ปลายลำต้นประกอบด้วยโคนกาบใบเรียกว่ากาบหมากหุ้มติดลำต้นเป็นแผ่นใหญ่ ก้านประกอบด้วยใบย่อย เมื่อหมากออกดอก ดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียกจั่นหมาก ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกาบหมาก เมื่อกาบหมากแก่หลุดร่วงไปจะเห็นดอกหมาก ผล  ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 โดยเฉลี่ยผลรวมกันเป็นทะลาย ใน 1 ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10 – 150 ผล ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง ผลประกอบด้วย 4 ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียด เหนียว เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด เมื่อผลอ่อนเส้นใยอ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก ส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง
สรรพคุณ : ผลของหมากนั้นมีสรรพคุณในการช่วยขับพยาธิได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ พยาธิตัวกลม เป็นต้น นอกจากนี้แล้วหมากก็ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคมาเลเรีย และมีฤทธิ์ในด้านการเป็นยาที่ช่วยขับปัสสาวะอีกด้วย จากการวิจัยพบว่า หมากมีสารชื่อ อัลคาลอยด์ ที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อราและฆ่าเชื้อไวรัสอีกด้วย
ตำรับยาแผนโบราณ :   หากนำเอาเนื้อของผลหมากและเมล็ดฟักทองมาต้มรวมกับน้ำตาลทราย ดื่มพร้อมกันน้ำก็จะช่วยในการขับพยาธิชนิดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี หรือหากจะเอาผลหมากสุกมาต้มกินกับน้ำแล้ว จะช่วยป้องกันอาการของโรคต้อหินหรือความดันภายในลูกตาเพื่อไม่ให้สูงผิดปกติได้

มะเกลือ

มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ebenaceae พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ผลดิบของมะเกลือมีสรรพคุณเป็นยา จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง สมัยก่อนนิยมใช้ยางผลมะเกลือไปย้อมผ้า
          สำหรับสรรพคุณในการช่วยระบายและขับถ่าย ท่านให้ผลสดโตเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่สุกนักของมะเกลือ จำนวน 20 ผล นำมาตำให้ละเอียด เจือด้วยน้ำกะทิเล็กน้อย ประมาณ 2 – 3 ช้อนโต๊ะ  เพื่อช่วยให้รสชาติดีขึ้น  ใช้ดื่มหรือจิบวันละ 1 ครั้ง ขณะที่ท้องยังว่า (นำหรับเด็กเล็กที่ยังมีอายุไม่ถึง 10 ขวบ และสตรีมีครรภ์ หรือสตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรตำหรับนี้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.
วงศ์ : EBENACEAE
ชื่อสามัญ : Ebony Tree
ชื่ออื่นมักเกลือ มะเกือ
ลักษณะ :
ไม้ต้น  ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10 - 30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม   
เปลือก  เปลือกนอก สีดำแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ เปลือกในเหลืองอ่อนกระพี้ขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีค่อนข้างดำถ้าตัดทิ้งไว้แก่นสีดำสนิท 
ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 1.5 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 8 เซนติเมตรใบแห้งสีดำ 
ดอก  ดอกเล็กสีขาวหรือขาวอมเหลืองออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ 
ผล  กลมเกลี้ยง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแก่จัดแห้งเปลือกเปราะและออกสีดำ   กลีบจุกผลมี   4 กลีบ   เมล็ดถ้าผ่าตามขวางจะเห็นว่าระหว่าง เปลือกนอกกันเนื้อขาว ๆ ของเมล็ดนั้นเรียบก้านผลยาวประมาณ 2 - 5 มิลลิเมตร
สรรพคุณ : ราก  ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม  ผลมะเกลือสดและเขียวจัด - เป็นสมุนไพรยอดเยี่ยมที่สุดในการถ่ายพยาธิ กำจัดตัวตืด หรือไส้เดือนตัวกลม พยาธิปากขอพยาธิเข็มหมุด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ผลสดโตเต็มที่และเขียวจัด จำนวนผลเท่าอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้อายุ 40 ปี ใช้เพียง 25 ผล) ตำใส่กะทิ คั้นเอาแต่น้ำกะทิ ช่วยกลบรสเฝื่อน ควรรับประทานขณะท้องว่าง ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่ายใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป
สารเคมี - สารกลุ่มพีนอล ชื่อ diospyrol ซึ่งถูก oxidize ง่าย
ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำว่า 10 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดใหม่ ๆ และผู้ป่วยในโรคอื่น ๆ ระวังอย่าให้เกินขนาดถ้าเกิดอาการท้องเดินหลาย ๆ ครั้ง และมีอาการตามัวให้รีบพาไปพบแพทย์ด่วน

มะหาด

มะหาด  เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากทวีปเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทราย ดินร่วนปนทราย ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป
สูตรที่ใช้เป็นสมุนไพรช่วยระบายและเป็นยาขับถ่าย ท่านให้เอาผงปวกหาด (เปลือกต้นมะหาดนำไปต้มกับน้ำ และทำให้เป็นผงแห้ง)  5 กรัม (2 ช้อนโต๊ะ) มาผสมกับน้ำมะนาว กินวันละ 1 ครั้ง ในขณะที่ท้องยังว่า สามารถกินได้ก่อนที่จะกินยาถ่าย 2 ชั่วโมง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lakoocha Roxb.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น  : หาด, ขนุนป่า, มะหาดใบใหญ่
รูปลักษณะ : มะหาด เป็นไม้ยึนต้น สูงประมาณ 30 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้าง ใบ เดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนาน หรือรูปวงรี กว้าง 8-10 ซม. ยาว 10-12 ซม. หลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบสาก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ค่อนข้างกลม ก้านสั้น แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ผล เป็นผลรวม สีเหลือง ผิวขรุขระ มีขนนุ่น
สรรพคุณของ มะหาด : เนื้อไม้ นำมาเคี่ยวกับน้ำ กรองเนื้อไม้ออก บีบน้ำออกให้แห้ง จะได้ผงสีนวลจับกันเป็นก้อน ย่างไฟให้เหลือง เรียกว่า ปวกหาด ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน และพยาธิตัวตืด สารที่ออกฤทธิ์คือ 2,4,3',5'-Tetrahydroxystibene ละลายผงปวกหาดจำนวน 3 กรัม ในน้ำเย็น ดื่มช่วงเช้ามืด ก่อนอาหาร หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง ให้กินยาถ่าย เช่น ดีเกลือ เพื่อถ่ายตัวพยาธิ

สะแกนา
เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 – 10 เมตร  กิ่งอ่อนเป็นรูปเหลี่ยม  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ  กว้าง 3 – 8 ซม. ยาว 6 – 15 ซม.  ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็ก  กลีบดอกสีขาว  ผลแห้งมี 4 ครีบ  เมล็ดสีน้ำตาลแดง รูปกระสวย มี 4 สันตามยาว
สูตรสะแกนาเป็นยาสมุนไพรใช้เป็นยาระบายและขับถ่าย  ท่านให้เอาเมล็ดในของผลที่แก่และแห้งแล้วของสะแกนา จำนวน 20 – 30 เมล็ด มาต้มสุก  หุ่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ  สามารถนำไปเจือในอาหารต่าง ๆ  กินได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz
วงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่นแก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ);ขอนแข้;จองแข้ (แพร่)ซังแก (เขมร ปราจีนบุรี);แพ่ง (ภาคเหนือ);สะแก
ลักษณะ   สะแกนา เป็นไม้ยืนต้น มีกิ่งที่แปรสภาพไปเป็นหนามสั้นตามโคนต้น เปลือกต้นเรียบ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันแผ่นใบบางมีขนทั้งสองด้าน ใบรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมี ๔-๕5 กลีบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปลายแยกเป็น ๔ แฉก  ผล รูปไข่ มีปีก ๔ ปีก เมล็ดรี
สรรพคุณ : เมล็ดแก่ ใช้ขับพยาธิไส้เดือนและพยาธิเส้นด้ายในเด็ก  โดยใช้ขนาด 1 ช้อนคาว หรือ 3 กรัม ตำผสมกับไข่ทอดกินครั้งเดียว ขณะท้องว่าง
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ลำต้น เข้ายากับเบนโคก และเบนน้ำ แก้ปวดมดลูก มดลูกอักเสบ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลาสำหรับผู้หญิงหลังคลอดบุตร เมล็ด ถ่ายพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก
ตำรายาไทย  ใช้  เมล็ดแก่ รสเมาเบื่อ ขับพยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน ในเด็ก(โดยใช้ขนาด 1 ช้อนคาว หรือ 3 กรัม ตำผสมกับไข่ ทอดกินครั้งเดี่ยวขณะท้องว่าง) แก้ซางตานขโมย มะเร็ง คุดทะราดใบแก่ รสฝาดเมา แก้พิษปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ไข้ แก้บาดแผล ปรุงเป็นยารักษามะเร็งภายในต่างๆ ใบอ่อน รสฝาด รักษาแผลสด แก้บิดมูกเลือด ใบ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ต้น รสเมา แก้โรคหนองใน แก้แผลในที่ลับ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กามโรคเข้าข้ออกดอก ปรุงเป็นยารักษาฝีมะเร็งภายในต่างๆ กระพี้ รสเบื่อร้อน แก้คันทวารเด็ก ขับพยาธิเส้นด้าย เมล็ดแก่ รสเบื่อเมา ขับพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้ายในเด็ก โดยใช้เมล็ดแก่ 1 ช้อนคาว (ประมาณ 3 กรัม) หรือ 15-20 เมล็ด ตำให้ละเอียด ทอดกับไข่รับประทาน แก้ซาง ตานขโมย แก้คุดทะราด แก้มะเร็ง ราก รสเมา ปรุงเป็นยาแก้กามโรค หนองใน เข้าข้อ ฝีมะม่วง ฝีต่างๆ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้พิษไข้เซื่องซึม ฆ่าพยาธิ ปรุงเป็นยาแก้ไส้ด้วนไส้ลาม มะเร็งตับ ปอด ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร แก้ไข้สันนิบาต ผอมแห้ง แก้ริดสีดวง ผอมแห้ง แก้เสมหะ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ตกมูกเลือด ขับพยาธิ ทั้ง 5 ส่วน รสเมา ขับพยาธิในท้อง แก้ซางตานขโมย พุงโรก้นปอด อุจจาระหยาบ เหม็นคาว แก้ฝีตานซาง ผลดิบ แช่น้ำไว้ให้วัวควายกินขับพยาธิ

ชุมเห็ดเทศ
เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 2-3 เมตร ก้านใบนั้นยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง มีลักษณะคล้ายใบมะยม แต่จะโตและยาวกว่าประมาณ 10-12 ซม. และกว้างประมาณ 3-6 ซม. มีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย  เช่น  ใช้ขับพยาธิในลำใส้ ถ่ายพิษตานทรง รักษาซาง โรคผิวหนัง ถ่ายเสมหะ รักษาฟกบวม รักษาริดสีดวง ดีซ่าน และฝี
สูตรสำหรับใช้ระบายและเป็นยาขับถ่าย  ท่านให้เอาดอกและใบที่ยังสด ถ้าจะใช้เมล็ดให้เอาเมล็ดที่แห้งแล้วของชุมเห็ดเทศ  โดยให้นำเอาดอกสด จำนวน 5 ดอก (หากใช้ใบสด จำนวน 15 ใบ หากใช้เมล็ดแห้ง จำนวน 10 – 20 เมล็ด) มาต้มกับน้ำสะอาด สุกแล้วสามารถนำไปย่างให้เหลืองแล้วชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ผสมเกลือเล็กน้อยดื่มหรือจิบได้วันละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นยาระบายอ่อน ๆ
ชื่อสามัญ ชุมเห็ดใหญ่ , ชุมเห็ดลับหมื่นหลวงชี้คาก , หญ้าเล็บหมื่นหลวง ,หมากกะลิงเทศ(เหนือ) Golden Bush, Ringworm Bush
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia alata Linn. วงศ์ Caesalpiniaceae
วงศ์ : Leguminosae
ลักษณะ : เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 เมตร ใบประกอบแบบขนนก ขนาดใหญ่ ใบย่อยรูปขอบขนาน ดอกช่อสีเหลืองชูตั้ง ความยาวของฝักประมาณ 4 นิ้ว เป็นจีบ เมื่อแก่จะแตกออก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เกิดตามที่ราบลุ่มริมน้ำทั่วไป
สรรพคุณ : ใบ รสเบื่อเอียน  บดผสมกระเทียม หรือน้ำปูนใสทาแก้กลากเกลื้อน ดองสุราหรือปิ้งไฟ ชงน้ำดื่ม เป็นยาระบาย และสมานธาตุ
ดอก รสเอียน เป็นยาระบาย
ฝัก รสเบื่อเอียน แก้พยาธิ ระบาย ขับถ่ายพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน
ต้น รสเบื่อเอียน ขับพยาธิในท้อง
ต้น ราก ใบ รสเบื่อเอียน แก้กระษัยเส้น ทำหัวใจให้ปกติ แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ
สาระสำคัญ ใบ มี Anthruquinono เช่น aloo- emodin,chrysophenol, emodin, rhein& tannin


ชุมเห็ดไทย

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกแขนงมาก ใบประกอบด้วยใบย่อย  3 ใบ  ใบมีขนาดเล็ก รูปกลมมน  ดอกสีเหลืองขนาดเล็ก  ฝักเล็กแบนยาว เมล็ดรูปทรงกระบอก
สำหรับสูตรช่วยระบายและเป็นยาขับถ่าย  ท่านให้เอาใบ เมล็ด ต้น ของชุมเห็ดไทย (ถ้าเป็นใบและต้น ประมาณ 30 – 50 กรัมหรือ 2 กำมือ ถ้าเป็นเมล็ด จำนวน 50 กรัมหรือ 2 หยิบมือก็พอ) นำมาต้มกับน้ำสะอาด 2 ถ้วยแล้ว เจือด้วยเกลือและกระวาน 2 ผล เพื่อกลบรสชาติ จากนั้นจิบเหมือนน้ำชาในช่วงเช้าก่อนอาหารวันละ 1 มื้อ
ชื่อพื้นเมืองชุมเห็ดควาย ชุมเห็ดนา ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง) พรมดาน (สุโขทัย) ลับมือน้อย (ภาคเหนือ) หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)
กระวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna tora (L.) Roxb.
ชือวงศ์ LEGUMINOSAE
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ มี ๖ ใบย่อย ดอกช่อ สีเหลือง ผลเป็นฝักกลมยาวโค้ง
สรรพคุณ : รากและลำต้น แก้ไข้ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย ใบและเมล็ด เป็นยาถ่าย แก้ไอ รักษาโรคผิวหนัง เมล็ด ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง แก้ตาแดง แก้ตับอักเสบ บำรุงประสาท แก้นอนไม่หลับ ทั้ง ๕ ขับพยาธิในท้อง
หมายเหตุ :  ชุมเห็ดเทศ ต้นและใบจะใหญ่กว่าชุมเห็ดไทย เป็นพืชในตระกูลเดียวกัน

สมอไทย
เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางซึ่งมีใบใหญ่ขนาดประมาณใบกระท้อนที่อยู่ในวงศ์ Combretaceae มีสรรพคุณทางสมุนไพรสูงเป็นอย่างมาก ผลสมอไทยนอกจากมีสรรพคุณทางสมุนไพรสูงเป็นอย่างมากแล้วก็ยังมีประโยชน์ต่องานอุตสาหกรรมพื้นบ้านได้ด้วยเช่นการย้อมผ้า การทำเครื่องเรือน ฯลฯ
          สูตรช่วยระบายและเป็นยาขับถ่าย ท่านให้เอาผลอ่อนของสมอไทย ปริมาณ 10 ผล มาล้างให้สะอาดต้มกับน้ำประมาณ 2 แก้ว เจือด้วยเกลือเล็กน้อย ดื่มวันละ 1 ครั้ง จากนั้น 2 – 3 ชั่วโมง ก็จะสามารถขับถ่ายท้องได้เป็นอย่างดี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz
วงศ์ : Combretaceae
ชื่ออื่น : มะนะ (เชียงใหม่), ม่าแน่, หมากแนะ (กระเหรี่ยง)
ลักษณะ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวติดตามต้นแบบตรงข้าม ใบมีรูปคล้ายรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือแหลมเล็กน้อย ใบกว้าง 6 - 10 มม. ยาว 8 - 15 ซม. ก้านใบยาว 1 - 3 ซม. มีต่อมขนาด 1 - 2 มม. อยู่ 2 ต่อม ที่ปลายก้านส่วนที่ใกล้กับฐานใบ ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตามมุมก้านใบหรือปลายยอด ช่อใหญ่ประกอบด้วยช่อย่อย 3 - 10 ช่อ ดอกเล็กมีขนาด 3 - 4 มม. สีขาวหม่น และมีกลีบประดับขนาดเล็กรองรับอยู่ด้วย ผลรูปไข่หรือเกือบกลมกว้าง 1 - 2.5 ซม. ยาว 2 - 4 ซม. และมักเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ภายในมีเมล็ดรูปรีและมีขนาดใหญ่
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลทั้งสดหรือแห้ง
สรรพคุณ : ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้เนื้อจากผลสดประมาณ 10 ผล จิ้มเกลือรับประทาน หรือใช้ผลแห้งประมาณ 6 ผลต้มกับน้ำเติมเกลือพอสมควรรับประทาน

สมอพิเภก
เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 25-50 เมตร โคนต้นมีพูพอนใหญ่ เปลือก หนาแตกเป็นร่องตามยาว ใบ เดี่ยว ออกสลับ เรียงเวียนรอบกิ่ง ผิวใบด้านบนมีขนสีน้ำตาลอ่อน ผลอ่อน แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ผลแก่ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้ ฯลฯ
          สูตรช่วยระบายและเป็นยาขับถ่าย  ท่านให้เอาผลโตเต็มที่แต่ไม่แก่นักของสมอพิเภก ประมาณ 5 ผล ต้มกับน้ำสะอาด 2 ถ้วยแก้ว อาจผสมเกลือเมล็ดแล้วดื่มหรือจิบให้หมดในขณะท้องว่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminli Belerica
วงศ์ : Combretaceae
ชื่อท้องถิ่น : ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า สมอพิเภก สมอแหน
ลักษณะ  : ต้นสมอพิเภกนี้ ถือว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ได้ใบใหญ่เท่าขนาดฝ่ามือทีเดียว ใบกว้าง ปลายใบแหลม ใบหนาและแข็ง ใบดกหนาดอกสมอพิเภกออกเป็นช่อเล็ก ๆ ส่วนผลของสมอพิเภกนั้นเป็นผลกลมๆขนาดเท่าลูกพุทราใหญ่ ออกสีน้ำตาลมีสีขาวปน รสขม
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลดิบ ผลสุก ใบ ดอก เปลือก ราก
สรพรคุณ : ผลดิบ รับประทานแล้ว ระบายท้องได้ดี ผลสุกเป็นยาแก้บิด ดอกแก้โรคตาแดง ตาอักเสบ เปลือก ขับปัสสาวะได้ดี แก่น ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร