>>สมุนไพรขับปัสสาวะ ป้องกันและรักษาโรคนิ่ว

สมุนไพรขับปัสสาวะ ป้องกันและรักษาโรคนิ่ว
หญ้าหนวดแมว
1.  หญ้าหนวดแมว
          เป็นไม้ล้มลุกสูงได้ถึง 2 เมตร  ลำต้นค่อนข้างเป็นเลี่ยมเห็นได้ชัดเจน และมีขนเล็กน้อย ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบตรงข้าม ก้านใบยาว และอาจยาวได้ถึง 3 ซม. ตัวใบร่างคล้ายรูปไข่ หรือรูปไข่เรียวขอบค่อนข้างขนาน หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบจักตามเส้นใบมักมีขน ตัวใบกว้าง 0.5 – 5 ซม. ยาว 1 – 10 ซม. ดอกออกเป็นช่อยาว 7 – 29 ซม. ประกอบด้วยดอกย่อย ๆ สีขาวหรือม่วงอ่อนจำนวนมาก ดอกมีส่วนของเกสรตัวผู้เป็นเส้นยื่นยาวคล้ายหนวดของแมว 5 เส้น ยาวกว่าส่วนของกลีบดอกมาก และพบยาวมากกว่า 2 ซม. ผลค่อนข้างแข็ง สีน้ำตาลเข้ม และมีขนาดเล็ก 1 – 2 ซม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้นหรือใบ ใช้ได้ทั้งสดหรือแห้ง
สรรพคุณและวิธีใช้
            1.  ขับปัสสาวะ ใช้ต้นสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่มต่างน้ำ หรือผงแห้ง 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ขวด ดื่มแต่น้ำ ประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้ง 1 ถ้วยชา (75 มิลลิเมตร) เหมาะสำหรับคนไข้ที่เป็นโรคบวมน้ำ และปัสสาวะขัด

            2.  ป้องกันและรักษานิ่ว  ใช้ทั้งต้นสดบนดิน ถ้าแห้งใช้ 4 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ขวด แม่โขง (750 มิลลิลิตร) ให้เดือด 3 – 5 นาที ดื่มแต่น้ำทั้งวัน ใช้ติดต่อกน 1 – 2 เดือน นิ่วที่มีขนาดตั้งแต่เม็ดเล็ก จนถึงขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวจะถูกขับออกมากับปัสสาวะ 
ข้อควรระวัง  คนที่รับประทานแล้วใจสั่น ให้หยุดยา โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจ อย่าใช้เกินขนาด
            หญ้าหนวดแมว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Orthosiphon aristatus (Bl.) Mip. อยู่ในวงศ์ Labiatae  มีชื่ออื่น ๆ เช่น พยับเมฆ (กรุงเทพฯ)



หญ้าไซ
2.  หญ้าไซ       
         เป็นพืชล้มลุกที่มักมีลำต้นเรียวยาวทอดนอน มีข้อและปล้องชัดเจน ปล้องยาว 5 – 12 ซม. ที่ข้อมักมีขน กาบใบโอบหุ้มปล้องยาวประมาณครึ่งปล้อง ส่วนต่อระหว่างกาบใบและตัวใบมีเยื่อบางเรียวแหลม ยาว 2 – 5 มม. แนบติดกับลำต้น ตัวใบเรียวแหลม ขนาดกว้าง 4 – 6 มม. ยาว 15 – 30 ซม. เนื้อใบหยาบ ดอกออกเป็นช่อคล้ายรวงข้าว แต่ขนาดเล็กกว่ายาก 5 – 10 ซม. ดอกมีลักษณะคล้ายดอกข้าวขนาดเล็ก ยาว 2 – 4 มม. ปลายดอกแหลม ผลขนาดเล็ก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้นหรือทั้งห้า ใช้ได้ทั้งสดหรือแห้ง

สรรพคุณและวิธีใช้
            1.  ใช้ขับปัสสาวะ  โดยใช้วันละ 1 กำมือ หรือน้ำหนักสด 20 – 30 กรัม น้ำหนักแห้ง 5 – 10 กรัม ใส่น้ำ 9 ถ้วยชาต้มให้งวดเหลือ 3 ถ้วยชา แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา
            หญ้าไซ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Leersia hexandra Sw.  อยู่ในวงศ์ Gramineae  มีชื่ออื่น ๆ เช่น หญ้าทราย หญ้าไทร (กรุงเทพฯ) หญ้าคมบาง (นครศรีธรรมราช)

แห้วหมู

3.  แห้วหมู
          เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว และสามารถงอกไหลไปตามผิวดินได้ไกล 5 – 25 ซม. เพื่อกำเนิดเป็นหน่อใหม่ต่อไป หัวมีรูปร่างตั้งแต่เรียวยาวจนถึงเกือบกลม มีขนาดตั้งแต่เล็กไปจนถึง 2.5 ซม. ลำต้นที่อยู่บนดินนั้นมีขนาดสูงเพียงเล็กน้อย และมักเห็นเป็นสามเหลี่ยม มีใบติดอยู่โดยรอบแบบสลับ รูปร่างของใบค่อนข้างเรียวแคบ ปลายใบแหลมกว้าง 2 – 6 มม. ยาว 5 – 15 ซม. ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายยอด มีก้านช่อยาว ปลายก้านช่อมีใบประดับที่มีลักษณะ และสีคล้ายใบรองรับโคนช่อดอก 3 ใบ ช่อดอกประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก 10 – 40 ดอก สีน้ำตาล ผลรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 มม.
ส่วนที่ใช้เป็น : หัว
สรรพคุณและวิธีใช้
            1.  ขับปัสสาวะ  ใช้หัวใต้ดิน 5 – 7 หัว บดให้ละเอียด คลุกกับน้ำผึ้งเป็นยาลูกกลอน รับประทานทั้งหมดในหนึ่งครั้ง
             2.  แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง  ใช้หัวแห้ง 1 กำมือ (30 – 70 หัวหรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตกต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งรับประทาน

            3.  รักษาบิด  ใช้หัวแห้ง 6 – 8 หัว บดกับขิงแก่แห้ง 4 – 5 แว่น คลุกกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาลูกกลอน
            4.  ห้ามเลือดใส่แผลสด  ใช้ต้นและใบ 5 – 10 ต้น นำมาล้างให้สะอาด หั่นตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส ใช้พอกแผลที่เลือดออก
            5.  เป็นยาอายุวัฒนะ  ใช้หัวแห้วหมูผสมกับเมล็ดพริกไทย เมล็ดข่อย เถาบอระเพ็ด เปลือกต้นทิ้งก่อน เปลือกต้นตะโกนา ใช้ผงสมุนไพรอย่างละเท่า ๆ กัน ผสมกันโดยใช้น้ำผึ้งเดือนห้า ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเมล็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด ก่อนนอน
            แห้วหมู มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cyperus rotundus Linn.  อยู่ในวงศ์ Cyperaceae  มีชื่ออื่น ๆ เช่น  หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน)



 อ้อยแดง
4.  อ้อยแดง
         เป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้น 1 – 3 เมตร  ลำต้นมีข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจน ใของลำต้นแดงคล้ำ แต่ละปล้องอาจจะยาวหรือสั้นก็ได้ ใบออกที่ข้อแบบสลับ และร่วงง่าย จึงพบเฉพาะตามปลายยอด โดยมีกาบใบโอบหุ้มข้ออยู่ รุปใบยาวเรียวปลายแหลม ขนาดยาว 50 – 175 ซม.  กว้าง 4 – 10 ซม. ของใบจักละเอียดและคม ดอกออกเป็นช่อใหญ่อยู่ตรงปลายยอด ขนาด 40 – 80 ซม. สีขาว ประกอบด้วยดอกย่อย มีขนาดเล็กจำนวนมาก และมีขนยาว
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง

สรรพคุณและวิธีใช้
            ขับปัสสาวะ  ใช้ลำต้นวันละ 1 กำมือ (สด 70 – 90 กรัม แห้ง 30 – 40 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำรับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิเมตร)
            อ้อยแดง  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Saccharum sinense Roxb.  อยู่ในวงศ์ Gramineae  มีชื่ออื่น ๆ เช่น  อ้อยดำ อ้อยขม
หญ้าชันกาด

5.  หญ้าชันกาด
เป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเป็นเหล้าอยู่ใต้ดินและมีไหลเจริญเป็นต้นใหม่ ได้ลำต้นที่อยู่บนดินสูง 20 – 60 ซม. มีข้อและปล้องชัดเจน ปล้องยาว 7 – 20 ซม. ข้อแข็ง กาบใบยาวเกือบเท่าปล้อง และหุ้มปล้อง ริมกาบส่วนที่ไกล้ตัวใบมีขน ตัวใบเรียว กว้าง 3 – 10 มม. ยาว 5 – 20 ซม. ปลายใบแหลม ด้านบนมีขนเล็กน้อย ระหว่างกาบใบและตัวใบมีเยื่อบางแนบลำต้นสูง 0.5 มม. ดอกออกเป็นช่อยาว 6 – 20 ซม. ก้านแขนงช่อดอกเป็นเหลี่ยม ดอกสีขาวอมเขียวขนาด 1 – 3 มม. รูปรีปลายแหลม ผลมีขนาดเล็กมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา  เหง้าสดหรือแห้ง


สรรพคุณและวิธีใช้
            ใช้ขับปัสสาวะ  โดยใช้วันละ 1 กำมือ หรือเหง้าสดหนัก 60 – 40 กรัม แห้งหนัก 30 – 40 กรัม บุบพอแตกต้มกับน้ำ 9 ถ้วยชา (1 ถ้วยชามีปริมาตร 75 มิลลิลิตร) ต้มให้งวดเหลือ 3 ถ้วยชา แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา
            ข้อควรระวัง  ยาจำพวกขับปัสสาวะนี้ควรใช้เมื่อมีอาการและใช้จนเห็นผลชัดเจนก็ควรหยุดใช้ ไม่ควรใช้อยู่ตลอดเวลา
            หญ้าชันกาด  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Panicum repens Linn.  อยู่ในวงศ์ Graminaea  มีชื่ออื่น ๆ เช่น  หัวหวาย (ภาคกลาง) แขมมัน หญ้าอ้อน้อย (เชียงใหม่) หัวหวายนา (ภาคอิสาน) หญ้าครุน หญ้าขิง (ภาคใต้)
 หญ้าคา
6.  หญ้าคา
          เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุได้หลายปี โดยมีเหง้าสีขาวแข็งทอดตัวอยู่ใต้ดิน และไปได้ไกล ส่วนบนดินมีลำต้นตรง สูงได้ถึง 15 – 120 ซม. มีกาบใบโอบหุ้มอยู่ กาบใบค่อนข้างเรียบและริมกาบมีขน ตัวใบเรียว กว้าง 4 – 18 มม. ยาว 1 – 2 เมตร ส่วนกลางใบจะกว้างกว่าโคนใบและปลายใบ มีขนเป็นกระจุกอยู่ระหว่างรอยต่อของตัววใบและกาบใบ ขนปรากฏชัดเจนมากตามข้อ ดอกออกเป็นช่อ ยาว 3 – 20 ซม. กว้าง 0.5 – 2.5 ซม. สีขาวเป็นมัน แต่ละดอกมีขนาดเล็กและมีขนฟูสีขาวยาวได้ถึง 5 ซม. อยู่โดยรอบ
ส่วนที่ใช้เป็นยา  ราก ทั้งสดหรือแห้ง
สรรพคุณและวิธีใช้
            1.  ขับปัสสาวะ  ใช้วันละ 1 กำมือ (สดประมาณ 40 – 50 กรัม แห้ง 10 – 15 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)       

2.  รักษาโรคหืด  ใช้รากสด 1 กำมือ ผสมกับเปลือกต้นหม่อนครึ่งกำมือกับรากชะเอมจีน ยาว 4 องคุลี ใส่น้ำ 4 ถ้วยแกล้ว ต้มให้เหลือครึ่งเดียว รับประทานครั้งละ 1 แก้ว
            3.  ลดอาการร้อนในกระหายน้ำ  ใช้รากสด 1 กำมือ หรือ 30 – 60 กรัม ต้มกับน้ำ ดื่มแต่น้ำ เช้า – เย็น
            หญ้าคา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Imperata cylindrical (L.) Raeusch.  อยู่ในวงศ์ Gramineae



สับปะรด

7.  สับปะรด
          เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุได้หลายปี ส่วนของลำต้นแก่ค่อนข้างแข็ง และแตกหน่อใหม่ทางด้านข้าง ใบติดสลับโดยรอบต้น ก้านใบกางโอบลำต้น ตัวใบเป็นแผ่นเรียวคล้ายดาบโค้ง ปลายเรียวแหลม ริมใบมีหนามแหลมขนาดเล็ก เนื้อใบแข็ง ใบกว้าง 2 – 6 ซม. ยาว 50 – 150 ซม. ผิวใบด้านล่างมักเห็นเป็นสีขาวนวล ดอกออกเป็นช่อ สีและขนาดแตกต่างตามพันธุ์ ช่อดอกมีก้านยาว มีใบประดับติดอยู่ทั้งส่วนบน และส่วนล่างของช่อ เมื่อเป็นผลรูปร่างเกือบกลมหรือรูปไข่ป้อม หรือทรงกระบอก มีขนาดกว้าง 3 – 20 ซม. ยาว 5 – 30 ซม. ไม่มีเมล็ดที่สมบูรณ์
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้า ทั้งสดหรือแห้ง
สรรพคุณและวิธีใช้
            1.  ขับปัสสาวะ  ใช้เหง้าวันละ 1 กอบมือ (สด 200 – 250 กรัม แห้ง 90 – 100 กรัม) ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)


2.  ช่วยย่อย  ใช้น้ำคั้น ½ - 7 ถ้วยแก้ว หรือเนื้อสับปะรดไม่จำกัด รับประทานช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน
            3.  ป้องกันและรักษานิ่ว  ใช้แกนในและจุกสับปะรดเอาแต่ส่วนที่อ่อน ๆ จาก 1 ผล นำมาต้มกับน้ำตาลกรวด 1 ก้อน ให้ได้น้ำ 1 ถ้วยแก้ว ดื่มให้หมดครั้งเดียว วันละ 2 เวลา หลังอาหาร
            สับปะรด  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ananas comosus Merr.  อยู่ในวงศ์ Bromelliaceae  มีชื่ออื่น ๆ เช่น มะขะนัด มะนัด (ภาคเหนือ) บ่อนัด (เชียงใหม่) ขนันทอง ย่านัด ยานัด (ภาคใต้) หมากนัด (ภาคอีสาน)




8.  มะละกอ
เป็นไม้เนื้ออ่อน ลำต้นสูงได้ถง 5 – 6 เมตร มีใบออกเป็นกลุ่มที่ปลายยอด บางครั้งอาจพบแขนง 1 – 2 กิ่งบ้าง ทุกส่วนของพืชมียางขาว ใบรูปเกือบกลมอาจกว้างได้ถึง 75 ซม. ริมใบหยักเว้าเข้าหาใจกลางใบ 7 – 11 หยัก แต่ละหยัก ยังเว้าตามด้านข้างอีก ก้านใบยาว ภายในกลวง ยาวได้ถึง 1 เมตร ดอกมีทั้งดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ ออกตามซอกโคนก้านใบทั้งชนิดดอกเดี่ยวและช่อ มีกลิ่นหอ สีขาวครีม หรือเหลืองอ่อน ดอกรูปทรงกระบอกยาว 2 – 4 ซม. ผลมีรูปร่างขนาดและสีแตกต่างตามพันธุ์ ยาว 5 – 30 ซม. ภายในอาจมีหรือไม่มีเมล็ดก็ได้
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก ทั้งสดหรือแห้ง, ผล, ยาง เมล็ด
สรรพคุณและวิธีใช้
            1.  ขับปัสสาวะ  ใช้รากวันละ 1 กำมือ (สด 70 – 90 กรัม แห้ง 30 – 40 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)
            2.  ถ่ายพยาธิ  ใช้เมล็ดมะละกอแก่ ๆ สด หรือแห้งใหม่ ๆ 1 – ¼ ช้อนกาแฟ คั่วพอบดง่าย บดให้ละเอียด เติ้มน้ำผึง หรือน้ำเชื่อม ให้รับประทานง่าย รับประทานติดต่อกัน 2 – 3 วัน ได้ผลดีในพยาธิเส้นด้าย
            3.  เป็นยาระบายยาถ่าย  ใช้ผลสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ช่วยระบาย นอกจากเป็นยาระบายอ่อน ๆ แล้วยังให้วิตามินซีด้วย

4.  ช่วยย่อย  ใช้ผลมะละกอดิบ ไม่จำกัดประกอบอาหาร ยางมะละกอสามารถย่อยอาหารพวกโปรตีน ยาแผนปัจจุบันที่ย่อยพวกโปรตีน เป็นยาที่เตรียมจากยางมะละกอ
            5.  รักษาหูด  ให้ยางขาวเหมือนน้ำนมจากก้านใบ หรือจากผลดิบ 5 – 6 หยด ทาบริเวณที่เป็นหูด วันละ 3 – 4 ครั้ง (ข้อควรระวัง อย่าให้ยางถูกเนือดี)
            6.  ลดอาการแพ้  อักเสบ  ปวดบวม  แมลงสัตว์กัดต่อย  ใช้ยางสด 1 – 2 ช้อนชา ทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ ทาบ่อย ๆ จะช่วยลดอาการปวด และในที่สุดจะหาย
            มะละกอ  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Carica papaya Linn.  อยู่ในวงศ์ Caricaceae  มีชื่ออื่น ๆ เช่น  มะก๊วยเต๊ด ก๊วยเทด (ภาคเหนือ เชียงใหม่) ลอกอ (ภาคใต้) แตงต้น (สตูล) หมักหุ่ง (นครพนม เลย มหาสารคาม)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น