>>สมุนไพรแก้เจ็บคอ

บัวบก

เป็นสมุนไพรในเขตร้อนที่ขึ้นในที่ชื้นๆ ทั่วไป เป็นผักพื้นบ้านที่คนในแถบนี้คุ้นเคย ในพม่ามียำใบบัวบก คนมาเลเซียผสมใบบัวบกลงในผักสลัด ในไทยนิยมใช้บัวบกเป็นผักแกล้มลาบ ส้มตำ ซุปหน่อไม้ กินกับน้ำพริก หรือกินกับหมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย และเป็นที่รู้กันดีว่าน้ำใบบัวบกมีสรรพคุณแก้ช้ำใน คนจีนเชื่อว่าน้ำใบบัวบกเป็นยาแก้ช้ำใน ช่วยลดการกระหายน้ำ บำรุงกำลัง ในตำรายาไทยกล่าวว่า บัวบกมีรสเฝื่อนขมเย็น แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ ขับโลหิตเสีย 
ส่วนสรรพคุณแก้อาการเจ็บคอ  ท่านให้เอาต้นสด ๆ  ของบัวบก จำนวน 2 กำมือ (10 กรัม) มาล้างน้ำให้สะอาด  ตำให้แหลกแล้วคั้นเอาแต่น้ำ  เจือน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ  ใช้จิบบ่อย ๆ  ได้วันละ 3 – 4 ครั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica (Linn.) Urban.
ชื่อวงศ์ : Umbelliferae
ชื่ออังกฤษ : Asiatic pennywort
ชื่อท้องถิ่น : ผักแว่น, ผักหนอก, ปะหนะ, เอขาเด๊าะ
ลักษณะของพืช  : บัวบกเป็นพืชสมุนไพรที่เลื้อยไปได้ตามพื้นดิน สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ  มีรากงอกออกมาตามข้อของลำต้น กลายเป็นต้นใหม่ จะเรียกว่า ไหล  กานใบงอกตรงจากดิน  ใบสีเขียว ใบไม้  รูปกลมรีเล็กน้อย  ขอบใบเป็นคลื่น  ดอกสีม่วงแดงเข้ม ใช้ข้อที่มีรากงอกมาปลูกได้ดี      
สรรพคุณ :  
ใบสด - ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ  มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด
น้ำต้มใบสด - ดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย      


บัวครึ่งซึก

ไม้ล้มลุก ลำต้นขนาดเล็ก ตามข้อมีรากออก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ชูส่วนยอดขึ้น มียางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 0.2-0.6 ซม. ยาว 1-2 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัด ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นเกือบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสั้นมาก ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีม่วงอ่อน กลีบเลี้ยงสีเขียวอมม่วง มี 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดดอกแยกผ่าออก ทำให้กลีบดอกเรียงเพียงด้านเดียว หลอดดอกด้านนอกมีขนสีขาว ผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้  มีฃื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พระจันทร์ครึ่งซีก”
สรรพคุณในทางแก้เจ็บคอ  ท่านให้เอาต้นสดของบัวครึ่งซีก จำนวน 2 กำมือ (50 กรัม) มาล้างน้ำให้สะอาดแล้วต้มกับน้ำ ประมาณ 5 – 6 แก้ว ใช้ดื่มหรือจิบได้วันละ 3 ครั้ง เช้า – กลางวัน – เย็น
ชื่อที่เรียก : บัวครึ่งซีก
ชื่ออื่นๆ : พระจันทร์ครึ่งซีก
ชื่อวิทยาศาสตร์Lobelia chinensis  Lour
วงศ์ :  Campanulaceae
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก ลำต้นขนาดเล็ก ตามข้อมีรากออก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ชูส่วนยอดขึ้น มียางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 0.2-0.6 ซม. ยาว 1-2 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบตัด ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตื้นเกือบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบสั้นมาก ดอก ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีม่วงอ่อน กลีบเลี้ยงสีเขียวอมม่วง มี 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดดอกแยกผ่าออก ทำให้กลีบดอก
สรรพคุณ : ลดไข้ แก้หอบหืด บำรุงปอด แก้อาเจียนเป็นเลือด วัณโรค ปอดอักเสบ ทอนซิลอักเสบ บิด ขับปัสสาวะ (เพื่อลดอาการบวมจากไตอักเสบ) ท้องมาน(เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดและดีซ่าน) เข้ายาแก้มะเร็งกระเพาะอาหารหรือที่ทวารหนัก แก้ข้ออักเสบ เคล็ดขัดยอกบวมเจ็บ ฝี แผลเปื่อย บาดแผล กลากเกลื้อน ผื่นคันและแก้คัดจมูกเนื่องจากกินยาเข้า รากระย่อม(Rauvolfia Serpentina Benth)

สำรอง
เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ มีขนาดลำต้นใหญ่สูงประมาณ 30- 40 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 10 –12 ซม. ยาว 15 – 25 ซม. ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ กลีบดอกสีเขียวอ่อน มีขนสีแดงที่กลีบเลี้ยง ผลเป็นผลแห้ง แผ่เป็นแผ่นขนาดใหญ่ แตกขณะยังอ่อนทำให้มีลักษณะเหมือนเรือ เมล็ดสำรองมีรูปกลมรีหัว  ท้ายมน มีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ เปลือกหุ้มเม็ดชั้นนอกมีสารเมือกจำนวนมาก ซึ่งจะพองตัวในน้ำ มีลักษณะคล้ายวุ้นโดยขยายใหญ่กว่าขนาดเดิมเกือบ 10 เท่า เมื่อแก่จัดจะหล่นลงดิน เป็นไม้ชอบขึ้นตามป่าดงดิบ มีความชื้นสู
สรรพคุณในทางแก้อาการเจ็บคอ  ท่านให้เอาเนื้อของผลของต้นสำรอง จำนวน 20 ผล มาต้มกับน้ำ ผสมชะเอมจีนเล็กน้อย ใช้ดื่มหรือจิบได้อย่างน้ำชาบ่อย ๆ  ตลอดวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scaphium scaphigerum (G.Don) Guib.& Planoh.
ชื่อสามัญ : Malva Nut


ชะเอมจีน
วงศ์ : Sterculiaceae 
ชื่ออื่น : สำรอง ชื่อพื้นเมือง พุงทลาย ภาคอีสานเรียก บักจอง ชาวจีนเรียก ฮวงไต้ไฮ้ 
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้น สูง ประมาณ 4-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 10-12 ซม. ยาว 15-25 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ กลีบดอกสีเขียวอ่อน มีขนสีแดงที่กลีบเลี้ยง ผลแห้ง มีลักษณะแผ่เป็นแผ่นขนาดใหญ่ แตกขณะยังอ่อนอยู่ ทำให้มีลักษณะเหมือนเรือ มีเมล็ดรูปรี สีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอกมีสารเมือกจำนวนมาก ซึ่งจะพองตัวในน้ำ มีลักษณะคล้ายวุ้น
สรรพคุณ : เนื้อผลที่พองตัว ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้ร้อนใน


ลิ้นมังกร

เป็นพืชใบประดับ มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศเขตร้อนแห้งแล้ง   คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะลิ้นมังกร บางคนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก ดังนั้นลิ้นมังกรจึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล
        ลิ้นมังกร  ส่วนมากจะใช้เป็นไม้ประดับ ถ้าใช้เป็นสมุนไพรแก้เจ็บคอ ท่านให้เอาใบของลิ้นมังกรแบบสด ๆ  มาล้างน้ำให้สะอาด ต้มกับน้ำประมาณ 2 แก้ว  เจือน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลกรวดสัก 1 – 2  ช้อนโต๊ะ  ใช้ดื่มหรือจิบได้บ่อย ๆ  ตลอดวัน เพื่อให้ชุ่มคอและแก้คออักเสบ
ชื่อสามัญ : Mather - in - law's Tongue
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sancivieria.
วงศ์ :  AGAVACEAE
ลักษณะทั่วไป
ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้   ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน   ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออกมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกเป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ ขนาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสัน จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
สรรพคุณ : ใบ ของลิ้นมังกรมีรสขม มีสรรพคุณแก้อาการเจ็บคอ บำรุงปอด แก้โรคติดเชื้อในบางระบบทางเดินหายใจส่วนบน   ใบใช้ตำหรือขยี้แล้วนำไปทาหรือพอกบริเวณแผลที่อักเสบช่วยให้ทุเลาอาการลงได้

ถั่วเขียว
ถั่วเขียว เป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ให้เมล็ดที่มีเปลือกสีเขียว แต่ เนื้อเมล็ดสีเหลือง ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้น หรือวงจรชีวิตของถั่วเขียวมันสั้น จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืช เช่น ทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสพภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วย บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง ถั่วเขียวใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตแป้งวุ้นเส้น เพาะถั่วงอก และประกอบอาหารอื่นๆ ถั่วเขียวมีสองชนิด ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ
สรรพคุณแก้เจ็บคอ ท่านให้เอาเมล็ดถั่วเขียว จำนวน 2 กำมือ มาล้างน้ำให้สะอาด แล้วต้มกับน้ำประมาณ 3 แก้ว  เคี่ยวจนเมล็ดถั่วเปื่อย จากนั้นให้เติมน้ำตาลกรวดเล็กน้อย  เมื่อยกลงแล้วให้นำไปตากน้ำค้างทิ้งไว้ 1 คืน  พอรุ่งเช้านำมากินได้วันละ 2 – 3 ถ้วย ต่อเนื่องกันไปเป็นเวลานาน 3 วัน
ชื่อสามัญ : Mung Bean, Green Bean, Green Gram, Golden Gram
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna radiata (L.) R. Wilcz
วงศ์ : FABACEAE
ลักษณะทั่วไป :  
ต้น 
: เป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน และจะมีอายุนานเพียงไม่เกิน 1 ปี ลำต้นจะมีขนเป็นสีน้ำตาล และจะแตกกิ่งก้านสาขา      
ใบ : เป็นใบรวมประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 3 ใบ ฐานใบนั้นจะกว้างตรงปลายใบและแหลม     
ดอก : ดอกนั้นจะเป็นสีเหลือง 
เมล็ด(ผล) : ผลนั้นจะออกเป็นฝักและมีขนเป็นสีน้ำตาลอยู่ทั่วฝัก ฝักจะมีความยาวประมาณ 6-10 ซม. ส่วนเมล็ดถั่วเขียวจะมีสีแตกต่างกัน จะเป็นสีเขียวหรือสีเหลืองก็ได้ สีเหลืองก็คือถั่วทองที่เราเรียกกันนั้นเอง
สรรพคุณ :  ถั่วเขียว แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาฝี   เมล็ด นำมาต้มแล้วกินเป็นยาขับปัสสาวะ สำหรับคนที่เป็นโรคเหน็บชา ส่วนถั่วเขียวที่ดิบ หรือที่ต้มสุกแล้วใช้ตำพอก เป็นยารักษาภายนอกช่วยบ่มหนองให้ฝีสุก และยังใช้ในโรคอื่น ๆ ได้เช่นการคลอดลูกยาก โรคท้องมาน และท้องร่วง    เปลือก (สีเขียว) แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง รักษาตาอักเสบ ถั่วงอก แก้พิษเหล้า

ว่านหางช้าง
เป็นพืชล้มลุก ในวงศ์ IRIDACEAE ลำต้นเป็นไหล ใบเดี่ยวรูปดาบ เรียงสลับ ดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเล็กเป็นช่อที 5 กลีบ ดอกสีเหลืองปะแดง เป็นไม้ประดับ
สรรพคุณแก้เจ็บคอ  ท่านให้เอารากและเหง้าทั้งสดและแห้ง (ถ้าใช้สดให้ใช้ประมาณ 15 กรัม  ถ้าใช้แห้ง ให้ใช้ประมาณ 6 – 10 กรัม) นำมาต้มกับน้ำประมาณ 4 – 5 แก้ว  ใช้ดื่มหรือจิบเป็นน้ำชาได้ตลอดวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Belamcanda chinensis  (L.) DC.
ชื่อสามัญ :  Black Berry Lily, Leopard Flower
วงศ์ :    IRIDACEAE
ชื่ออื่น :  ว่านมีดยับ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 0.6 - 1.2 เมตร มีเหง้าเลื้อยตามแนวขนานกับพื้นดิน ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า เรียงซ้อนสลับ กว้าง 2 - 3 ซม. ยาว 30 - 45 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีส้มมีจุดประสีแดงกระจาย ผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกอ้า และกระดกกลับไปด้านหลัง 
สรรพคุณ : ใช้เป็นยาระบาย แก้ระดูพิการ เหง้า ตำราจีนใช้เหง้าเป็นยาแก้ไอ ขัเสมหะ ยาถ่าย แก้ไข้ บำรุงธาตุ พบว่ามีสารบางชนิดที่เป็นพิษ จึงควรระวังในการใช้กิน การทดลองกับผู้ป่วย พบว่าน้ำต้มเหง้า ใช้ชะล้างแก้อาการผื่นคันได้ผลดี

ไมยราบ
เป็นพืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน ต้นมีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝีกยาวเรียว แบน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน
        สรรพคุณแก้เจ็บคอ  ท่านให้เอารากสดของไมยราบ  จำนวน 100 กรัม มาล้างน้ำให้สะอาด แล้วต้มกับน้ำประมาณ 5 แก้ว ใช้ไฟอ่อน ๆ  เคี่ยวจนเหลือน้ำประมาณ 1 แก้วครึ่ง กินวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น ใช้ต่อเนื่องกันไปได้ 2 สัปดาห์
ชื่ออื่นๆ:กระทืบยอด  หนามหญ้าราบ (จันทนบุรี)  กะหงับ (ภาคใต้)  ก้านของ (นครศรีธรรมราช)  ระงับ (ภาคกลาง)  หงับพระพาย (ชุมพร)  หญ้าจิยอบ  หญ้าปันยอด (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Sensitive plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimosa pucida L.
วงศ์ : Fabaceae (Leguminosae-Mimosoideae)
ลักษณะพฤกษศาสตร์ :ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งสูงถึง 1 ม. มีขนหยาบปกคลุมลำต้น แกนก้านใบ ท้องใบ และช่อดอก  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ใบประกอบย่อยมี 1-2 ใบ ยาว 1.5-7 ซม. ใบย่อยมี 12-25 คู่ รูปขอบขนานหรือคล้ายๆ รูปเคียว ยาว 0.5-1 ซม.  ช่อดอกออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2.5-4 ซม. ดอกจำนวนมาก ไร้ก้าน กลีบเลี้ยงเล็กมากประมาณ 0.1 มม. กลีบดอกรูประฆังแคบ ยาวประมาณ 2 มม. กลีบดอกมนกลม ยาว 0.5-0.8 มม. เกสรเพศผู้มี 4 อัน รังไข่ยาวประมาณ 0.5 มม. เกลี้ยง ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก รูปขอบขนาน ตรง ยาว 1.5-1.8 ซม. มีขนแข็งตามขอบ
สรรพคุณ :
ราก แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ระบบการย่อยอาหารของเด็กไม่ดี บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้ตาสว่าง ระงับประสาท แก้บิด ขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดเวลามีประจำเดือน ถ้าไข้ขนาดสูงมาก ๆ  จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ริดสีดวงทวาร
รสขมเล็กน้อย ฝาด ปวดข้อ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
ต้น ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว ขับโลหิต
ใบ แก้เริม งูสวัด โรคพุพอง ไฟลามป่า
ทั้งต้น ขับปัสสาวะแก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว แก้ไข้ออกหัด แก้นอนไม่หลับ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ สงบประสาท แก้ลำไส้อักเสบ แก้เด็กเป็นตานขโมย แก้ผื่นคัน แก้ตาบวมเจ็บ แก้แผลฝี